ภาพกิจกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อบรมให้ความรู้ประชาชนเพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้กับประชาชนในพื้นที่ชุมชน ต.พะวง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา

วันที่ 28 เมษายน 2568 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษ ที่ 21 เรื่องการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทุกช่วงวัย หัวข้อ การรู้เท่าทันสื่อและการป้องกันความปลอดภัยไซเบอร์ ตามโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีอาจารย์เสรี ชะนะ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานเปิดโครงการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจนำความรู้ไปขยายผลให้กับคนในครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ สามารถตรวจสอบแหล่งข้อมูล และข่าวสารในสื่อออนไลน์ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลเท็จหรือข่าวปลอม สามารถเข้าถึงบริการข้อมูลภาครัฐด้านต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย

โดยกลุ่มเป้าหมายในวันนี้เป็นประชาชนในพื้นที่ชุมชนตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยมีทีมวิทยากรจากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมให้ความรู้ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา



2025-04-28

เตรียมความพร้อมเปิดประสบการณ์ค่ายภาษาอังกฤษให้ประชาชน จ.พัทลุง

สำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา ลงพื้นที่โรงเรียนวีรนาถศึกษามูลนิธิ เตรียมความพร้อมเปิดประสบการณ์ค่ายภาษาอังกฤษให้ประชาชน จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์เสรี ชะนะ และรองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ อาจารย์ ดร.นิสิตา ฤทธาภิรมย์ ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่โรงเรียนวีรนาถศึกษามูลนิธิเพื่อร่วมหารือและพูดคุยแลกเปลี่ยน สำรวจและจัดเก็บข้อมูลความต้องการด้านการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ และสำรวจพื้นที่บริเวณโรงเรียน ที่จะใช้สำหรับจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งจังหวัดพัทลุงถือเป็นหนึ่งในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โครงการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการยกระดับสู่สากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จากนั้นได้ร่วมกันประชุมสรุปผลการลงพื้นที่เพื่อนำมาเป็นแนวทางการจัดโครงการ สำหรับประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุงต่อไป

2025-04-28

เติมความรู้ เสริมทักษะ สร้างความฝัน เรียนรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล

วันที่ 24-25 เมษายน 2568 สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จัดโครงการห้องสมุดสุดหรรษา ในหัวข้อ"แนวนทางการพัฒนาทักษะชีวิตและการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล" สำหรับน้อง ๆ หนู ๆ อายุระหว่าง 7- 10 ปี โดยมีอาจารย์วันฉัตร จารุวรรณโน รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นประธานเปิดโครงการ กิจกรรมจัดขึ้น ณ ห้องสมุด สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา โครงการห้องสมุดสุดหรรษาในครั้งนี้ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยกุล จันทบูรณ์ รองผู้อำนวยการ พร้อมทีมงานห้องสมุด คิดสร้างสรรค์จัดกิจกรรมต่าง ๆ มุ่งหวังที่จะพัฒนา และเพิ่มทักษะของเด็ก ๆ ในชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัย ในการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดภาคเรียน และในยุคดิจิทัล ยุคสังคมก้มหน้า ก้มตา จับ เล่นแต่โทรศัพท์มือถือ ชนิดที่ทุกคนแทบจะวางไม่ได้เลย อะไร ๆ ก็ออนไลน์ ไม่ว่าจะเด็กและผู้ใหญ่ แต่หารู้ไม่ว่าภัยใกล้ตัวที่เข้ามาถึงและครอบงำได้ง่ายที่สุด ก็มาจากโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ เว็บไซต์ เกม คลิปสั้น ซึ่งอาจจะแฝงมากับภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เราคาดไม่ถึง เพื่อเป็นการให้รู้เท่าทันสื่อ ตระหนักถึงความปลอดภัย การเข้าถึงสื่อเว็บไซต์ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีคุณภาพมากที่สุด เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อ ของข้อมูลอันเป็นเท็จ ข่าวปลอม หรืออื่น ๆ ที่สุ่มเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสียหาย กิจกรรมมีทั้งในสถานที่และนอกสถานที่ เพื่อให้น้อง ๆ หนู ๆ ได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ ไหวพริบ การทำงานเป็นทีม เรียนรู้และสัมผัสกับประสบการณ์จริง ของกิจกรรมต่าง ๆ ผ่าน เกมส์ การประดิษฐ์สิ่งของ ประสบการณ์ตรงจากการเยี่ยมชมสถานที่จริง จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พร้อมทั้ง พี่ ๆ เจ้าหน้าที่สำนักวิทยบริการฯ มีกิจกรรมที่หลากหลาย โดยนอกสถานที่ 3 หน่วยงานด้วยกันดังนี้ 1. คณะวิทยาการจัดการ เปิดโลกการเรียนรู้ด้านสื่อสารมวลชน เรียนรู้การผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้ประกาศข่าว สตูดิโอบันทึกภาพ และห้องชมภาพยนตร์ วิทยากรโดย อาจารย์ ดร.วนภรณ์ จักรมานนท์ , ว่าที่ร้อยตรีฐานันดร ไพโรจน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต และพี่ ๆ นักศึกษา 2.คณะเทคโนโลยีการเกษตร เรียนรู้เรื่องเศษฐกิจพอเพียง เรียนรู้การปลูกต้นไม้ การเพาะพันธุ์ไม้ การเลี้ยงไก่ไข่ การเก็บไข่ และการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ วิทยาการโดยอาจารย์ศรัณย์ รักษาพราหมณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ และพี่ ๆ นักศึกษา และ 3.คณะศิลปกรรมศาสตร์ เรียนรู้ทางด้านศิลปะและดนตรี เพลินเพลินไปกับการฟังดนตรี การขับร้อง เล่นดนตรี ฝึกทักษะ ดนตรี ตามความชื่นชอบ ความถนัด ความสนใจ ของเด็ก ๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในอนาคต วิทยากรโดยอาจารย์ธีรวุฒิ แก้วมาก อาจารย์หลักสูตรดุริยางคศิลป์ตะวันตก และพี่ ๆ นักศึกษา นอกจากนี้ ก็ยังมีกิจกรรมอีกมากมาย เช่น รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศในยุคดิจิทัล ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของกิจกรรมในครั้งนี้ ,ฝึกทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการใช้มือ , กิจกรรม Rally ค้นหาชื่อหนังสือที่ซ่อนอยู่, กิจกรรมเกมส์ทายชื่อหนังสือ ,กิจกรรมตามล่าหาหนังสือ ,กิจกรรม DIY ประดิษฐ์หนังสือเล่มเล็ก ,กิจกรรมระเบิดเวลาทายชื่อหนังสือ ,กิจกรรมร้อยลูกปัด และการประดิษฐ์พวงกุญแจ และช่วงสุดท้ายของโครงการได้รับเกียรติจากอาจารย์เสรี ชะนะ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ได้มอบเกียรติบัตรให้กับเด็ก ๆ และกล่าวปิดโครงการในครั้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ขอขอบคุณ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร และคณะศิลปกรรมศาสตร์ ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ และอำนวยความสะดวกในทุก ๆ ด้าน ทั้งทีมวิทยากร เจ้าหน้าที่ พี่ ๆ นักศึกษา ในการต้อนรับและให้ความรู้กับเด็ก ๆ ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดียิ่ง สำนักวิทยบริการฯ ขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

2025-04-27

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อบรมให้ความรู้ประชาชนเพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้กับประชาชนในพื้นที่ชุมชน ต.เกาะยอ อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา

วันที่ 25 เมษายน 2568 อาจารย์วันฉัตร จารุวรรณโน รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษ ที่ 21 เรื่องการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทุกช่วงวัย หัวข้อ การรู้เท่าทันสื่อและการป้องกันความปลอดภัยไซเบอร์ ตามโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจนำความรู้ไปขยายผลให้กับคนในครอบครัว และชุมชน เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ สามารถตรวจสอบแหล่งข้อมูล และข่าวสารในสื่อออนไลน์ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลเท็จหรือข่าวปลอม สามารถเข้าถึงบริการข้อมูลภาครัฐด้านต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย

โดยกลุ่มเป้าหมายในวันนี้เป็นประชาชนในพื้นที่ชุมชนตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีอาจารย์เสรี ชะนะ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผศ.วุฒิชัย อินทร์แก้ว รองผู้อำนวยการฯ และทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมให้ความรู้ ณ ห้องประชุมชมรมผู้สูงอายุตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา



2025-04-25

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อบรมให้ความรู้ประชาชนเพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้กับประชาชนในพื้นที่ชุมชนท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

วันที่ 23 เมษายน 2568 อาจารย์วันฉัตร จารุวรรณโน รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษ ที่ 21 เรื่องการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทุกช่วงวัย หัวข้อ การรู้เท่าทันสื่อและการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตามโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจนำความรู้ไปขยายผลให้กับคนในครอบครัว และชุมชน เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ สามารถตรวจสอบแหล่งข้อมูล และข่าวสารในสื่อออนไลน์ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลเท็จหรือข่าวปลอม สามารถเข้าถึงบริการข้อมูลภาครัฐด้านต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย

โดยกลุ่มเป้าหมายในวันนี้เป็นประชาชนในพื้นที่ชุมชนท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีอาจารย์เสรี ชะนะ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผศ.วุฒิชัย อินทร์แก้ว รองผู้อำนวยการฯ และทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมให้ความรู้ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา



2025-04-23

สำนักวิทยบริการฯ จัดโครงการอบรม การพัฒนาความรู้และทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของคนทุกช่วงวัย (กลุ่มประชาชนในพื้นที่ชุมชน) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ชุมชน ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา

สำนักวิทยบริการฯ จัดโครงการอบรม การพัฒนาความรู้และทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของคนทุกช่วงวัย (กลุ่มประชาชนในพื้นที่ชุมชน) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ชุมชน ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา โดยมีนายนราเดช คำทัปน์ นายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง พร้อมด้วยรองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการกองการศึกษา ร่วมต้อนรับ

วันที่ 21 เมษายน 2568 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาความรู้และทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของคนทุกช่วงวัย (กลุ่มประชาชนในพื้นที่ชุมชน) ภายใต้โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21 ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ชุมชนตำบลเขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา ได้รับเกียรติจาก อาจารย์วันฉัตร จารุวรรณโน รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นประธานเปิดโครงการ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล รู้เท่าทันสื่อและการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบออนไลน์ โดยมีอาจารย์เสรี ชะนะ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิชัย อินทร์แก้ว รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ร่วมเป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้ นางจารุวรรณ เพชรรักษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมในโครงการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ สามารถตรวจสอบแหล่งข้อมูลและข่าวสารในสื่อออนไลน์ โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลเท็จหรือข่าวปลอม และสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐด้านต่าง ๆ ในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย 2 หลักสูตร ดังนี้ 1) การรู้เท่าทันสื่อและการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับประชาชนในพื้นที่ชุมชน 2) การเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบออนไลน์

การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568



2025-04-21

อาจารย์วันฉัตร จารุวรรณโน รองอธิการบดี ขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการฯ

5 มีนาคม 2568 อาจารย์วันฉัตร จารุวรรณโน รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ประชุม และร่วมพูดคุยพบปะกับผู้บริหาร และบุคลากร ของสำนักวิทยบริการฯ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน รับทราบข้อมูล ปัญหาและอุปสรรคในด้านต่าง ๆ ในทุก ๆ มิติ เพื่อนำมาวิเคราะห์ วางแผนงาน ให้สอดรับกับการดำเนินของมหาวิทยาลัยต่อไป ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์

2025-03-05

สำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา ลงพื้นที่สำรวจชุมชน เพื่อประเมินความต้องการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 สำนักวิทยบริการฯและเทคโนโลยีสารสนเทศ นำโดยอาจารย์เสรี ชะนะ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ พร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่สำรวจชุมชน เพื่อประเมินความต้องการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี รู้เท่าทันสื่อและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัล และการเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ และเทศบาลตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ซึ่งจังหวัดสงขลาเป็นหนึ่งในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

2025-03-03

ลงพื้นที่สำรวจชุมชน เพื่อประเมินความต้องการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ในพื้นที่อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

วันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิทยบริการฯและเทคโนโลยีสารสนเทศ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิชัย อินทร์แก้ว รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ พร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่สำรวจชุมชน เพื่อประเมินความต้องการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี รู้เท่าทันสื่อและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัล และการเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ในพื้นที่อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ได้แก่ เทศบาลตำบลโคกม่วง และเทศบาลตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ซึ่งจังหวัดพัทลุงเป็นหนึ่งในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

2025-02-27

ลงพื้นที่สำรวจชุมชน เพื่อประเมินความต้องการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ในพื้นที่อำเภอควนกาหลง และอำเภอละงู จังหวัดสตูล

สำนักวิทยบริการฯ มรภ.สงขลา ลงพื้นที่สำรวจชุมชน เพื่อประเมินความต้องการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ในพื้นที่อำเภอควนกาหลง และอำเภอละงู จังหวัดสตูล วันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิทยบริการฯและเทคโนโลยีสารสนเทศ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิชัย อินทร์แก้ว รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ พร้อมด้วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่สำรวจชุมชน เพื่อประเมินความต้องการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี รู้เท่าทันสื่อและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัล และการเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ในพื้นที่อำเภอควนกาหลง และอำเภอละงู จังหวัดสตูล ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง และองค์การบริหารส่วนตําบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งจังหวัดสตูลเป็นหนึ่งในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โครงการชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

2025-02-24

ศูนย์ภาษา มรภ.สงขลา ยกทัพเสริมแกร่งทักษะภาษาอังกฤษให้ไกด์ในจังหวัดสตูล

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการยกระดับชุมชนสู่สากล กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ให้แก่ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวและไกด์ท้องถิ่น ในจังหวัดสตูลกว่า 50 คน ณ วิทยาลัยชุมชนสตูล จังหวัดสตูล และแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 อาจารย์วันฉัตร จารุวรรณโน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และมอบของที่ระลึกให้แก่นายอัศวยุช เทศอาเส็น รองผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสตูล ตัวแทนผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนสตูลที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดอบรม โครงการดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2568 โดยผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนได้รับความรู้ในการสื่อสารภาษาอังกฤษจากอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้แก่ ผศ.ดร.ปนัดดา ศิริพานิช, อาจารย์ ดร.นิสิตา ฤทธาภิรมย์, อาจารย์ ดร.เกตวดี หมัดเด็น, ผศ.ดร.มรกต ดิษฐาอภิชัย, Mr. Ralph Tabasa Torres และ Mr. Robert Steven Judge กิจกรรมในสองวันแรก ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะการใช้คำศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษในการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัดสตูล ได้แก่ ถ้ำทะลุ ชุมชนบ้านหาญ ปันหยาบาติก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ถ้ำเลสเตโกดอน น้ำตกวังสายทอง และถ้ำอุไรทอง สำหรับกิจกรรมในวันสุดท้าย ผู้เข้าร่วมโครงการได้เดินทางไปยังถ้ำทะลุ ชุมชนบ้านหาญ ปันหยาบาติก และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เพื่อฝึกฝนการพูดภาษาอังกฤษในการเป็นไกด์ท้องถิ่นแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวหลักๆ ของจังหวัดสตูล ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการผู้เข้าร่วมโครงการมีความมั่นใจและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองในการประกอบวิชาชีพการให้บริการนำเที่ยวแก่ชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และเชิงธรณีวิทยา รวมถึงช่วยผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ท้องถิ่นในจังหวัดสตูลให้ก้าวสู่สากลต่อไป

2025-02-21

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หัวข้อ การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์จากหน่วยงานต่างๆ ที่ใช้บริการในสถาบันการศึกษา

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักวิทยบริการฯ จัดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในหัวข้อ "การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ใช้บริการในสถาบันการศึกษา" โดยนางสาวสมศรี หวันชิตนาย บรรณารักษ์ชำนาญการ เป็นวิทยากรให้ความรู้กับน้อง ๆ นักศึกษา ที่เกี่ยวกับฐานข้อมูลออนไลน์ที่ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้บอกรับให้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ เพื่อใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน ซึ่งฐานข้อมูลของบริษัท EBSCO ก็จะมี ฐานข้อมูล EDS, ฐานข้อมูล ASU, ฐานข้อมูล Applied Science & Technology Source Ultimate เป็นต้น ทั้งนี้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติในการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล EDS ทักษะและวิธีการสืบค้น สามารถนำไปใช้ในการเรียน การทำรายงาน และการทำวิจัย

2025-02-20

Total 310 Gallery : 26 Page