การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิต
|
ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
ผู้แต่ง: |
อรอนงค์ ยกสกูล |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
เลขหมู่: |
ว.พ.371.334 อ17ก 2556 |
รายละเอียด: |
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิต 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนด้านความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิต 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิต และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกอบกาญจน์ศึกษามูลนิธิ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2556 ได้มาจากการสุ่มกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 34 คน และกลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสาธิต แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิตสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (5) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับมาก ( =4.20) และต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน ( =4.13)
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการฝึกปฏิบัติร่วมกับการสอนแบบสาธิต
|
|
|