สภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ฐานิศา สาเบด

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.363.7296 ฐ25ส 2556

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรู้ ระดับเจตคติ และระดับการปฏิบัติด้านการสุขาภิบาลอาหาร ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล 2) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับระดับความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้กับระดับเจตคติของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล 4) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้กับระดับการปฏิบัติด้านการสุขาภิบาลอาหารของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล 5) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับเจตคติกับระดับการปฏิบัติด้านการสุขาภิบาลอาหารของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล และ 6) สภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล จำนวน 16 โรงเรียน รวม 109 คน โดยแบ่งเป็นผู้บริหาร 39 คน ครูผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน 16 คน และผู้สัมผัสอาหาร 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ แบบวัดเจตคติ แบบวัดการปฏิบัติ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.72, 0.82 และ 0.83 ตามลำดับ และแบบสำรวจโรงอาหาร (แบบ สอรร.7) ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งตรวจหาการปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์ม ตลอดจนตรวจหาการปนเปื้อนสารเคมี โดยใช้ชุดทดสอบภาคสนาม (Test Kit) ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบผสมผสาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไค-สแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับสูง ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 20.26 เจตคติเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี ( = 3.37, S.D. = 0.52) และการปฏิบัติด้านการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี ( = 2.33, S.D. = 0.78) 2) ผลการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ข้อมูล ส่วนบุคคล ทั้งในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน 3) ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับเจตคติด้านการสุขาภิบาลอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.440, p ≤ 0.05) 4) ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารไม่มีความสัมพันธ์ กับการปฏิบัติด้านการสุขาภิบาลอาหารของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน 5) เจตคติด้านการสุขาภิบาลอาหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติด้านการสุขาภิบาลอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.188, p ≤ 0.05) และ 6) การประเมินสภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนทั้งสามด้าน พบว่าผลการสำรวจโรงอาหาร ตามแบบ สอรร.7 และการทดสอบการปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มขั้นต้น โรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินเพียงร้อยละ 6.25 ส่วนการทดสอบการปนเปื้อนสารเคมีโรงเรียน ทุกแห่งผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยสรุปสภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินสูงถึงร้อยละ 93.75 มีเพียงร้อยละ 6.25 ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

สภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญจังหวัดสตูล