ผลของโปรแกรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน กรณีศึกษา : ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

สมพร เตชะพันธุ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.พ.616.81 ส16ผ 2556

รายละเอียด: 

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน กลุ่มประชากรเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อาศัยอยู่ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบพฤติกรรมด้านความรู้ แบบสอบถามพฤติกรรมด้านทัศนคติ และแบบวัดการปฏิบัติ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ สถิติ Dependent t-test Chi-square และหาระดับความสัมพันธ์ Crammer’s v สรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้ 1) ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้าร่วมโปรแกรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีพฤติกรรมด้านความรู้ ด้านทัศนคติ และด้านการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย เป็นข้อมูลที่มีค่าถี่น้อยกว่า 5 เกินกว่าร้อยละ 20 ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ มีเพียงกลุ่มเดียวจึงไม่สามารถหาค่าความสัมพันธ์และระดับความสัมพันธ์ได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ผลของโปรแกรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน กรณีศึกษา : ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง