การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานกลุ่มของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือ กับการเรียนด้วยโมเดลซิปปา
|
ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
ผู้แต่ง: |
ซันม่า เตะเจริญ |
สำนักพิมพ์: |
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
เลขหมู่: |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนโดยการเรียนแบบร่วมมือ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนโดยการเรียนด้วยโมเดลซิปปา 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนด้วยโมเดลซิปปา 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปา 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือและการเรียนด้วยโมเดลซิปปา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านด่าน จำนวน 2 ห้อง ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยห้องที่ 1 จัดเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 33 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือและห้องที่ 2 จัดเป็นกลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 33 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนด้วยโมเดลซิปปา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือและแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนด้วยโมเดลซิปปา สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) 2) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สูตร t-test dependent สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2 กลุ่ม โดยใช้สูตรสถิติ t-test for independent sample
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน โดยการเรียนแบบร่วมมือสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน โดยการเรียนด้วยโมเดลซิปปาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนด้วยโมเดลซิปปา ไม่แตกต่างกัน
4. ทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือและการเรียนด้วยโมเดลซิปปา พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนที่ได้รับการเรียนแบบร่วมมือมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 และนักเรียนที่ได้รับการเรียนโดยใช้โมเดลซิปปามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
|
|
|