ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบ จังหวัดยะลา : อำเภอบันนังสตา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

นรี พุ่มจันทร์

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.พ.616.99466 น17ป 2556

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีผลต่อพฤติกรรม ด้านอิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านอิทธิพลของสถานการณ์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับและที่ไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก (2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจระหว่างสตรีที่เข้ารับและที่ไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ 30-60 ปี ในอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ในช่วงปีงบประมาณ 2553–2556 จำนวน 391 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่เข้ารับการตรวจคัดกรอง 107 คน และกลุ่มที่ไม่เข้ารับการตรวจคัดกรอง 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลและแบบสอบถาม ซึ่งมีทั้งหมด 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยด้านการรับรู้ ส่วนที่ 3 แบบสอบถามปัจจัยด้านอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ส่วนที่ 4 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติร้อยละ สถิติ Chi-Square และ สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ศาสนา รายได้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีผลต่อพฤติกรรม และ ปัจจัยอิทธิพลของสถานการณ์ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาถึงระดับการรับรู้และระดับอิทธิพลของสถานการณ์ที่แตกต่างกัน พบว่า การเข้ารับการตรวจคัดกรองและไม่เข้ารับการตรวจ คัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรี แตกต่างกัน ส่วนระดับอิทธิพลระหว่างบุคคลที่แตกต่างกัน พบว่า การเข้ารับการตรวจคัดกรองและไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรี ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ กลุ่มที่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก คิดเห็นว่าหลังหลังการเข้ารับการตรวจคัดกรองจะมีความวิตกกังวลหลังการทราบผลตรวจ ร้อยละ 73.83 ส่วนกลุ่มที่ไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกนั้น ให้เหตุผลที่ไม่เข้ารับ เพราะไม่มีเวลา ร้อยละ 41.2 ไม่มั่นใจในกระบวนการตรวจและความวิตกกังวลหลังการทราบผลตรวจ ร้อยละ 38.03

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบ จังหวัดยะลา : อำเภอบันนังสตา