ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
พรศิริ ขันติกุลานนท์ |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.616.99466 พ17ป 2556 |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้ ปัจจัยด้านอิทธิพลระหว่างบุคคล และปัจจัยด้านอิทธิพลของสถานการณ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี และเพื่อเปรียบเทียบ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้ ปัจจัยด้านอิทธิพลระหว่างบุคคล และปัจจัยด้านอิทธิพลของสถานการณ์ ของสตรีที่ตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุ 30-60 ปี ที่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปี พ.ศ. 2553-พ.ศ. 2556 จำนวน 388 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่เข้ารับการคัดกรอง จำนวน 220 คน และไม่เข้ารับการคัดกรอง จำนวน 168 คน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 15 คน เพื่อจัดทำสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ หาความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ด้วย สถิติไคสแคว์ และสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ รับรู้อุปสรรคและการรับรู้ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะและปัจจัยอิทธิพลของสถานการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สตรีที่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีปัจจัยการรับรู้ในภาพรวม การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และปัจจัยด้านอิทธิพลของสถานการณ์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีปัจจัยการรับรู้สมรรถนะและปัจจัยด้านอิทธิพลในภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสตรีที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ผลการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มพบว่า เหตุผลที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด คือมีความกลัว เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และต้องการดูแลสุขภาพ สำหรับเหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะมีความอาย กลัวผลการตรวจผิดปกติ และไม่มีปัจจัยเสี่ยง |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
|