บทเพลงรองเง็ง : กรณีศึกษา นายเซ็ง อาบู ( A Case study of Rong Ngang Songs of Mr.Seng Arboo.)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

วิชัย มีศรี

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

จากการศึกษาพบว่านายเซ็ง อาบูเป็นศิลปินพื้นบ้านรองเง็งอดีตเคยเป็นสมาชิกในวงดนตรีพื้นบ้านรองเง็งเด็นดังอัสลีและอีรามาอัสลีโดยมีนายขาเดร์แวเด็งศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) เป็นหัวหน้าคณะ โดยหลังจากนั้นจึงแยกตัวออกมาจากคณะอีรามาอัสลีตลอดระยะเวลากว่า 40ปี ของการเป็นศิลปินดนตรีพื้นบ้านรองเง็ง นายเซ็ง อาบู มีผลงานการแสดงดนตรีพื้นบ้านรองเง็งต่อสาธารณชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมากมาย ทั้งเคยได้รับรางวัลเกียรติคุณพระราชทานซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูลด้านผลงานมีผลงานการบันทึกเสียง การออกแบบและเรียบเรียงเพลงประกอบการแสดงให้กับสถานศึกษาต่างๆ นอกจากนั้นยังเป็นผู้ถ่ายทอดและสืบทอดดนตรีพื้นบ้านรองเง็งให้ศิลปินพื้นบ้านรุ่นใหม่ เช่น วงดนตรีรองเง็งคณะอัสลีมาลาคณะบุหลันตานีรวมไปถึงนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ด้านภูมิปัญญา นายเซ็ง อาบู เป็นศิลปินพื้นบ้านที่สามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้หลายชนิดทั้งเครื่องดนตรีสากลและเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ กีตาร์ แมนโดลิน ไวโอลิน รำมะนา และฆ้องบทเพลงรองเง็งจำนวนมากเกิดจากการจดจำมาจากการหมุนแผ่นเสียง และการฟังบทเพลงประกอบละครของประเทศมาเลเซียที่เคยได้ยินมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมบทเพลงรองเง็งที่ได้จากนายเซ็งอาบูเป็นจำนวน50เพลง ได้ทำการถอดโน้ต(Transcription)และบันทึกโน้ตเพลง โดยแยกออกเป็น5จังหวะ ดังนี้ บทเพลงในจังหวะโยเก็ต จำนวน 15เพลง บทเพลงในจังหวะอินัง จำนวน 15เพลงบทเพลงในจังหวะรุมบ้า 5 เพลงบทเพลงในจังหวะซัมเป็งจำนวน 10เพลงและบทเพลงในจังหวะอัสลีจำนวน 5เพลง ผลการวิเคราะห์บทเพลงรองเง็ง จำนวน 5เพลง ใน 5 ลีลาจังหวะ พบว่ามีทั้งเพลงเร็วและเพลงช้า โดยเพลงเร็วจะบรรเลงด้วยลีลาจังหวะโยเก็ตจังหวะอินัง และจังหวะรุมบ้า ส่วนเพลงช้าจะบรรเลงด้วยลีลาจังหวะซำเป็ง และจังหวะอัสลี บันไดเสียงส่วนใหญ่ที่ใช้ คือ บันไดเสียงเมเจอร์ (Major) เช่น G major D major และ Amajor บันไดเสียงไมเนอร์(Minor) เช่น G minor เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นกลุ่มบันไดเสียงที่สะดวกต่อการบรรเลงของกลุ่มเครื่องดนตรีที่สร้างทำนอง นอกจากนี้ ทำนองหลักมีช่วงพิสัยเสียงไม่เกินขั้นคู่ 11 เพอร์เฟค ซึ่งถือเป็นช่วงเสียงที่เหมาะสำหรับการประพันธ์เพลงทั่วไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

บทเพลงรองเง็ง : กรณีศึกษา นายเซ็ง อาบู