ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
ประภาส ขวัญประดับ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2557 |
|
เลขหมู่: |
ว.787.2 ป17ง |
|
รายละเอียด: |
งานวิจัยเรื่อง งานวิจัยสร้างสรรค์บทเพลงประพนธ์สำหรับไวโอลิน : สไตล์เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงรองเง็งและโครงสร้างดนตรีรองเง็ง เพื่อประพันธ์เพลงบรรเลงไวโอลินสไตล์เพลงพื้นบ้านภาคใต้ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการแสดงรองเง็งจังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะนาฏศิลปที่มุ่งความสวยงามของท่าเต้น ส่วนรูปแบบการแสดงรองเง็ง จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันมีการระบำและการขับร้อง โครงสร้างดนตรีรองเง็ง ประกอบด้วย ทำนอง บันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ อัตราจังหวะ 2/4และ4/4มีการประสานเสียง เครื่องดนตรีวงรองเง็ง ได้แก่ ไวโอลิน แมนโดลิน แอคคอเดียน รำมะนาและฆ้อง ผู้วิจัยประพันธ์เพลงบรรเลงสำหรับไวโอลินสไตล์เพลงพื้นบ้านภาคใต้ 4เพลง ได้แก่ เพลงรักไวโอลิน เพลงรองเง็งในฝน เพลงมนต์เสนห์แดนใต้ เพลงสุขใจกับดนตรี พบวา ทำนองบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ จังหวะ 2/4และ4/4เสียงประสานแบบ 4แนว และเสียงประสานแบบสอดแทรกทำนอง สังคีตลักษณ์แบบเทอร์นารีฟอร์ม |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
งานวิจัยสร้างสรรค์บทเพลงประพันธ์สำหรับไวโอลิน : สไตล์เพลงพื้นบ้านภาคใต้ |
|