การสร้างสรรค์ชุดการแสดงจากประวัติศาสตร์ : ประเพณีถวายดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง (Thai-melayu dance creating from history of Pattani : Bunga Mas Ban Perak presenting Ceremony)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

จรรย์สมร ผลบุญ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.793.31 จ17ก

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ประวัติศาสตร์เมืองปัตตานี และนำข้อมูลมาสร้างสรรค์เป็นชุดการแสดง โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่วิธีการแบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1)ปัตตานีเป็นเมืองท่าที่เป็นเมืองประเทศราชของสยามมีธรรมเนียมปฏิบัติที่คือการถวายเครื่องราชบรรณาการต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของการยอมรับในอำนาจ และการสานสัมพันธ์ไมตรีที่เมืองเล็กมีต่อเมืองใหญ่ ดังนั้นดอกไม้เงินทองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความสงบสุขแก่บ้านเมืองจึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชุดการแสดง โดยใช้ชื่อชุดการแสดงว่า ตารีบุหงามาส 2) การสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้จินตนาการให้นักแสดงเป็นดอกไม้เงินทองใช้ลีลาการนำดอกไม้ที่เป็นปิ่นปักผมมาปักที่ฐานต้นไม้จนรวมเป็นต้นไม้และทองที่สมบูรณ์ ดังนั้นจุดเด่นของการแสดงคือดอกไม้ และฐานต้นไม้ที่สื่อให้เห็นถึงความสวยงามของดอกไม้ ถือเป็นจุดเด่นในการนำเสนอในการแสดงชุดนี้ นอกจากนี้องค์ประกอบด้านเพลง จะใช้ทำนองเพลงภาคใต้ตอนล่าง ส่วนการแต่งกายจะออกแบบให้มีความใกล้เคียงกับยุคสมัยโบราณมากที่สุดคือการนำผ้าสไบมาจับจีบที่อกให้มีลักษณะคล้ายการนุ่งกระโจมอก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การสร้างสรรค์ชุดการแสดงจากประวัติศาสตร์ : ประเพณีถวายดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง