การศึกษาโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียน : กรณีศึกษานักศึกษาที่มีปัญหาด้านการเรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (A study on academic supporting program : A case study of students with academic problems,Faculty of Education Songkhla Rajabhat unive

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

กุลยา ก่อสุวรรณ, ณัฐรินทร์ แซ่จุง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.371.9 ก47ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของนักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียน และ 2)เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียนของนักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)โปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียน 2)แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3)แบบสอบถามความคิดเห็นต่อโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียน และ 4)แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks test ส่วนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ถูกวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียนในภาพรวมหลังเข้าร่วมในโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียน สูงกว่าก่อนเข้าร่วมในโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่นักศึกษาทีมีปัญหาทางการเรียนชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยและคะแนนเฉลี่ยสะสมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.นักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียนในภาพรวมในระดับปานกลาง 3.นักศึกษาที่มีความเห็นต่อโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียนในประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1)ความประทับใจต่อโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียน 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 3)เจคติทางบวกต่อการเรียน 4)มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองมากขึ้น และ 5)พฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางบวก และ 6)สัมพันธภาพกับเพื่อนในชั้นเรียนดีขึ้น ข้อเสนอแนะจากการวิจัย โปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียนนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหานักศึกษาที่มีความเสี่ยงในการออกจากมหาวิทยาลัยกลางคันได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการเรียน : กรณีศึกษานักศึกษาที่มีปัญหาด้านการเรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา