ผลกระทบของการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อการดำเนินงานของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชว์ห่วย) ในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ( The Impact of he Modern Trade Expansion on Performance Traditional Trad In Muang District, Songkhla Province)
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
จาริณี แซ่ว่อง, จตุรภัทร จันทร์ทิตย์ |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2557 |
เลขหมู่: |
ว.381.1 จ27ผ |
รายละเอียด: |
งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบจากการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ต่อการดำเนินงานของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม 2) ปัจจัยการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 3) เปรียบเทียบการบริหารจัดการของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมกับคู่แข่งขันตามปัจจัยการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม 4) เปรียบเทียบการปรับตัวของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมตามปัจจัยการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม และ 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคที่มีต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่และร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมตามปัจจัยกายภาพของผู้บริโภค งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดแบบสุ่มโควตาและสุ่มแบบสะดวกจากกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและร้านค้าปลักสมัยใหม่ และกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกแบบดั้งเดิม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Chi-square T-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบที่ผู้ประกอบการค้าปลีกแบบดั้งเดิมได้รับมาจากการเข้ามาของร้านค้าปลีกสมัยใหม่มากกว่า 5 เดือน ทำให้มียอดขาย จำนวนลูกค้าปัจจุบัน และผลกำไรต่อเดือนลดลง แต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเท่าเดิม และมีการสำรองสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 2) แหล่งเงินทุนในการเปิดกิจการ ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน และจำนวนพนักงานในร้าน มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวนพนักงานมีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและผลกำไรต่อเดือน 3) ปัจจัยการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมโดยส่วนใหญ่มีผลต่อการบริหารจัดการราคาขายต่อหน่วย ความหลากหลายของสินค้า ขาดพื้นที่ภายในร้าน และการส่งเสริมการขาย 4) การปรับตัวในด้านต่าง ๆ พบว่า มีการปรับตัวในระดับมาก ในด้านการให้บริการลูกค้ากับความหลากหลายของสินค้า โดยนำสินค้าที่มีคุณภาพมาจำหน่ายมากขึ้น มีการจัดสินค้าเป็นหมวดหมู่แยกประเภท และติดป้ายราคาสินค้าที่ชัดเจน 5) สำหรับผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคสินค้าที่มีต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่กับแบบดั้งเดิม พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของร้านค้าปลีกสมัยใหม่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในด้านการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด และการบริหารจัดการ ส่วนความพึงพอใจร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านการจัดจำหน่าย และมีความพึงพอใจระดับน้อยในด้านส่งเสริมการตลาด และการบริหารจัดการ |
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ผลกระทบของการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อการดำเนินงานของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชว์ห่วย) ในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
|
|
|