สารต้านอนุมูลอิศระในผลิตภัณฑ์จากใบชา ใบหม่อน และใบมะรุม (Antioxident Activities Assay in Mixture of Tea Leaves (Camellia sinensis Ktze.), Mulberry Leaves (?นพีห alba L.) and Horse Radish Leaves (Moringa oleifera Lam.)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.581.636 น115ฤ

รายละเอียด: 

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของชาสมุนไพรจากพืช 3 ชนิด ได้แก่ ใบชา ชาใบหม่อน และชาใบมะรุม โดยการทดสอบสารสกัดชาด้ยน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส ในอัตราส่วนต่าง ๆ ที่เวลา 2, 5, 10, 30 และ 60 นาที เพื่อหาอัตราส่วนและช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การชงชาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงุด นำสารสกัดที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ ABTS จากการศึกษาพบว่า สารสกัดใบชามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก รวมสูงสุดที่เวลา 2 นาทีเท่ากับ 80.45±0.04 µg GAE / ml มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS สูงสุดที่เวลา 60 นาที เท่ากับ 88.58±0.00 (ปริมาณ ascorbic acid 35.00±0.01 ppmAA / µl) และ 98.00±0.00 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาณ Trolox 3.62±0.00 mg / ml) ตามลำดับ สารสกัดใบหม่อนและใบมะรุม มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงสุดที่เวลา 60 นาที เท่ากับ 43.71±0.07 µg GAE / ml ตามลำดับ ใบหม่อนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS สูงสุดที่เวลา 2 นาที เท่ากับ 88.41±0.01 (ปริมาณ ascorbic acid 35.74±0.04 ppmAA / µl) และ 98.06±0.00 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาณ Trolox 3.41±0.00mg/ml) ตามลำดับ ใบมะรุมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS สูงสุดที่เวลา 2 นาที เท่ากับ 87.98±0.07 (ปริมาณascorbic acid 37.59±0.01 ppmAA/µl) และ 98.22±0.0 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาณ Trolox 2.82±0.00 mg/ml) ตามลำดับ สารสกัดผสมทั้ง 3 ชนิดที่อัตราส่วนต่าง ๆ กัน พบว่า ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกเพิ่มขึ้นตามเวลาการสกัดที่นานขึ้น เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH พบว่า สารสกัดผสมใบชา+ใบหม่อน 0.5:1.5 w/w, ใบชา+ใบมะรุม 0.5 : 1.5 w/w, ใบหม่อน+ใบมะรุม 1.5 : 0.5 w/w และใบชา+ใบหม่อน+ใบมะรุมในอัตราส่วน 1.0:1.0:1.0 w/w มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดที่เวลา 2 นาทีเท่ากับ 93.36±0.03, 93.70±0.00, 55.18±0.01 และ 96.51±0.00 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาณ ascorbic acid 14.22±0.02 12.70±0.02 9.67±0.01 และ 0.52±0.01 ppmAA/µl) ตามลำดัลและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ABST พบว่า สารสกัดผสมของใบชา+ใบหม่อน 1.5:0.5 w/w, ใบชา+ใบมะรุม 0.5:1.5w/w, ใบหม่อน+ใบมะรุม 1.5:0.5 w/w และใบชา+ใบหม่อน+ใบมะรุม 1.5:1.0:0.5 w/w มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดที่เวลา 2 นาที มีค่าเท่ากับ 98.68±0.00, 98.39±0.01, 98.64±0.01 และ 98.62±0.00 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาณTrolox 1.15±0.00 2.20±0.01 1.65±0.00 และ 1.37±0.00mg/ml) ตามลำดับ ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนี้อัตราส่วนและเวลาที่ใช้ในการสกัดสามารถใช้เป็นข้อแนะนำในการชงชาให้มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

สารต้านอนุมูลอิศระในผลิตภัณฑ์จากใบชา ใบหม่อน และใบมะรุม