การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าทอเกาะยอโดยใช้เทคนิคควิลท์ (Product development of Ko-yo hand woven bag using quilt technique)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ศศิธร วิศพันธุ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.745.5 ศ18ก

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าทอเกาะยอโดยใช้เทคนิคควิลท์ ศึกษาความพึงพอใจผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าทอเกาะยอโดยใช้เทคนิคควิลท์ และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอเกาะยอให้กับกลุ่มทอผ้าร่มไทร ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา การดำเนินงานการวิจัยประกอบด้วย ขั้นตอนแรก คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่สอง คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการออกแบบ เป็นการกำหนดแนวคิดและขอบเขตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนที่สาม คือ การออกแบบ โดยร่างแบบตามแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบและพัฒนากระเป๋าผ้าทอเกาะยอที่มีความทันสมัย สวยงาม และมีเอกลักษณ์ ซึ่งเริ่มจากการออกแบบลวดลายก่อนแล้วจึงออกแบบร่างผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าทอเกาะยอ จำนวน 10 แบบ ขั้นตอนที่สี่ คือ การคัดเลือกแบบ นำแบบร่างผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอให้กลุ่มผ้าทอร่วมไทรคัดเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม จำนวน 3 แบบ ขั้นตอนที่ห้า คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขั้นตอนสุดท้าย คือ การประเมินผล โดยนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำนวน 3 รูปแบบ มาศึกษาความพึงพอใจจากสมาชิกกลุ่มทอผ้าร่มไทร จำนวน 5 คน และผู้สนใจผลิตภัณฑ์จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าทอเกาะยอโดยใช้เทคนิคควิลท์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าทอเกาะยอโดยใช้เทคนิคควิลท์ รูปแบบที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เป็นลำดับ 1 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 กล่าวคือ ด้านรูปทรง มีความเป็นเอกลักษณ์และยังคงคุณค่าของผ้าทอเกาะยอ มีความคงทนแข็งแรง ด้านประโยชน์ใช้สอย มีความสะดวกในการหยิบหรือใส่สิ่งของ และด้านกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด มีความเป็นไปได้ในการผลิตจริง และสมาชิกกลุ่มผ้าทอร่มไทร ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอโดยใช้เทคนิคควิลท์รูปแบบที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เป็นลำดับที่ 1 โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.28 กล่าวคือ ด้านรูปทรง มีความเป็นเอกลักษณ์และยังคงคุณค่าของผ้าทอเกาะยอ มีความประณีตสวยงาม ด้านประโยชน์ใช้สอยมีความสะดวกในการหยิบหรือใส่สิ่งของ ป้องกันการเกิดความเสียหายของสิ่งของได้ ใส่สิ่งของได้ปริมาณมาก และด้านกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด มีความเป็นไปได้ในการผลิตจริง และมีความเหมาะสมกับรสนิยมของกลุ่มสตรีวัยทำงาน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าทอเกาะยอโดยใช้เทคนิคควิลท์