ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
ทัศนียา คัญทะชา |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2557 |
|
เลขหมู่: |
ว.791.1 ท118ค |
|
รายละเอียด: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติโนราโรงเรียนบ้านกะทิง ถ่ายทอดการรำโนราบทประถม และรำตัวอ่อนให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านกะทิง ผลการวิจัยพบว่า โนราโรงเรียนบ้านกะทิง ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เริ่มฝึกโนราขึ้นเมื่อปี 2528 โดยนายธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ถ่ายทอดโนราบทครูสอน บทสอนรำ บทประถม และโนราตัวอ่อนให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 การฝึกช่วงแรกฝึกกับเทป จากนั้นได้ฝึกครูและชาวบ้านตีเครื่องดนตรีโนราจำนวน 4 คน นักเรียนที่สามารถรำโนราได้ทั้งหมด 5 รุ่น จำนวน 50 คน โนราโรงเรียนบ้านกะทิงได้เผยแพร่การรำโนราทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดทั่วประเทศเป็นระยะเวลา 10 ปี เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดศิลปการแสดงพื้นบ้าน ระดับประถมศึกษา ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาเมื่อปี 2535 นายธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ได้ย้ายราชการไปประจำที่สถาบันราชภัฏสงขลาแต่ยังคงกลับมาฝึกโนราให้โรงเรียนบ้านกะทิงอย่างต่อเนื่องอีก 3 ปี ต่อมาเมื่อปี 2539 นายธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ มีภาระงานสอนมากขึ้น จึงไม่สามารถกลับมาฝึกโนราได้อีก โนราบ้านกะทิงจึงไม่มีกิจกรรมการฝึกโนราตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การถ่ายทอดโนราบทประถม ผู้วิจัยเริ่มถ่ายทอดจากการยืดหยุ่นร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโนรา 9 ท่า ต่อด้วยการวางโครงสร้างมือและเท้าสำหรับการรำโนรา จากนั้นถ่ายทอดท่าการรำประสมท่า ซึ่งประกอบด้วยท่ารำเพลงโค 17 ค่า ท่านาดช้า 5 ท่า และเพลงนาดเร็ว 1 ท่า จากนั้นฝึกการร้องบทและฝึกรำบทประถมแบบสั้นมีท่ารำประถมทั้งหมด 21 ท่า ต่อด้วยการรำเพลงครูอีก 7 ท่า นักเรียนโรงเรียนบ้านกะทิงที่เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกโนราบทประถมมีทั้งหมด 14 คน ส่วนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกโนราตัวอ่อนมีทั้งหมด 8 คน ผุ้วิจัยเริ่มฝึกโนราตัวอ่อนด้วยการดัดร่างกายด้วยท่าโนราตัวอ่อน 8 ท่า หลังจากนั้นจึงถ่ายทอดท่ารำโนราตัวอ่อน 19 ท่า เป็นท่าเดิมของนายธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ 17 ท่า และท่าที่ถ่ายทอดเพิ่มเติม 2 ท่า |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
โครงการฟื้นฟูโนราโรงเรียนบ้านกะทิง ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
|