ประเภท:
งานวิจัย
ผู้แต่ง:
กมลนาวิน อินทนูจิตร, นัดดา โปดำ, ขวัญกมล ขุนพิทักษ์, หิรัญวดี สุวิบูรณ์, สอแหละ บางูสัน
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ปีที่พิมพ์:
2557
เลขหมู่:
ว.628.16 ค87
รายละเอียด:
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปริมาณภาระบรรทุกคาร์บอนและไนโตรเจนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่กรณีศึกษา โดยมีอายุการใช้งาน 2 ช่วงคือ ติดตั้งระยะเริ่มแรก และติดตั้งมาได้ระยะหนึ่ง (3-5 ปี) ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาจากการวัดปริมาณน้ำเสียในช่วงเวลาตลอดวัน พบว่าอัตราการไหลสูงสุดของน้ำเสียเข้าสู่ระบบคือช่วงเวลาเที่ยง เวลา 12.30 และ 14.30 น. เท่ากับ 1 และ 1.1 ลิตร/วินาที อัตราการไหลต่ำสุดคือช่วงเวลา จากการตรวจวัดลักษณะและสมบัติของน้ำเสียเปรียบเทียบกับธาตุอาหารหลักเพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์ พบว่า สัดส่วนของ BOD5 ต่อ N ในรูปของ TKN อยู่ในช่วงเวลา 24.8:5 และ 32.5:5 ตามลำดับ ส่งผลทำให้มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ต่ำ โดยมีสัดส่วนของไนโตรเจนสูงเมื่อเปรียบเทียบค่า BOD5 และปริมาณภาระบรรทุกน้ำเสียในรูปของ TSS COD BOD5 และ TKN เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับกรณีศึกษา อยู่ในช่วง 6.3-9.7 19.4-22.7 10.9-13.6 และ 1.7-2.4 กก./วัน ตามลำดับ น้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับกรณีที่ศึกษาในส่วนของถังสำเร็จรูปแบบไร้อากาศแบบแรกเริ่มและถังสำเร็จรูปแบบไร้อากาศระยะหนึ่งตามลำดับ ท้ายที่สุดสามารถสรุปปัญหาในภาพรวมของการจัดการน้ำเสียคือ ด้านวิศวกรรมและด้านการจัดการ โดยแบ่งเป็นด้านบุคลากร วัตถุดิบ เครื่องมือ กระบวนการ โดยพบว่า ปัจจัยด้านบุคคลมีความสำคัญมากที่สุด คือ ผู้ควบคุมหรือดูแลระบบไม่มีความเข้าใจในเรื่องระบบบำบัด รองลงมาคือ ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้อาคาร สุดท้ายคือไม่มีการตรวจสอบระบบบำบัดอย่างต่อเนื่อง
ไฟล์เอกสาร:
(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)
โครงการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อตรวจสอบปริมาณภาระบรรทุกคาร์บอนและไนโตรเจนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา