การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของเด็กออทิสติก จากการสอนโดยวิธีเพ็คส์ (PECS)

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ณัฏฐ์นรินทร์ นาคเล็ก

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.พ.71.9 ณ23ก 2557

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารของเด็กออทิสติกก่อนและหลังได้รับการสอนโดยวิธีเพ็คส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กออทิสติกที่มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร จำนวน 3 คน อายุ 8 - 11 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สถาบันพัฒนา การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนโดยใช้วิธีเพ็คส์ แบบบันทึกความสามารถในการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยแบบ Single Subject Design การศึกษาแบบหลายเส้นฐานต่างบุคคล (Multiple Baseline Design Across Individuals) นำผลที่ได้จากการบันทึกพฤติกรรมมาแสดงเป็นกราฟ และใช้การวิเคราะห์จากข้อมูลทางสายตา (Visual Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการสื่อสารของเด็กออทิสติกหลังการสอนโดยวิธีเพ็คส์ (PECS) สูงกว่าก่อนได้รับการสอนในระยะเส้นฐาน 1. เด็กคนที่ 1 มีความสามารถในการสื่อสารโดยใช้บัตรภาพในระยะเส้นฐาน (Baseline) คิดเป็นร้อยละ 0 หลังจากได้รับการให้การจัดกระทำ (Intervention) โดยการสอนด้วยวิธีเพ็คส์ เด็กสามารถ สื่อสารในระยะที่ 1 การแลกเปลี่ยนภาพ คิดเป็นร้อยละ 33–85 โดยใช้เวลา 3 ครั้ง ระยะที่ 2 การเพิ่มระยะทาง คิดเป็นร้อยละ 31–75 โดยใช้เวลา 4 ครั้ง ระยะที่ 3 การแยกแยะภาพ คิดเป็นร้อยละ 30-85 โดยใช้เวลา 8 ครั้ง และระยะที่ 4 การสร้างประโยค คิดเป็นร้อยละ 15-80 โดยใช้เวลา 10 ครั้ง รวมเวลาในการสอนทั้งสิ้น 28 ครั้ง 2. เด็กคนที่ 2 มีความสามารถในการสื่อสารโดยใช้บัตรภาพในระยะเส้นฐาน (Baseline) คิดเป็นร้อยละ 0 หลังจากได้รับการให้การจัดกระทำ (Intervention) โดยการสอนด้วยวิธีเพ็คส์ เด็กสามารถสื่อสารในระยะที่ 1 การแลกเปลี่ยนภาพ คิดเป็นร้อยละ 30-80 โดยใช้เวลา 8 ครั้ง ระยะที่ 2 การเพิ่มระยะทาง คิดเป็นร้อยละ 29-70 โดยใช้เวลา 9 ครั้ง ระยะที่ 3 การแยกแยะภาพ คิดเป็นร้อยละ 35-70 โดยใช้เวลา 7 ครั้ง และระยะที่ 4 การสร้างประโยค คิดเป็นเป็นร้อยละ 27-73 โดยใช้เวลา 9 ครั้ง รวมเวลาในการสอนทั้งสิ้น 39 ครั้ง 3. เด็กคนที่ 3 มีความสามารถในการสื่อสารโดยใช้บัตรภาพในระยะเส้นฐาน (Baseline) คิดเป็นร้อยละ 0 หลังจากได้รับการให้การจัดกระทำ (Intervention) โดยการสอนด้วยวิธีเพ็คส์ เด็กสามารถสื่อสารในระยะที่ 1 การแลกเปลี่ยนภาพ คิดเป็นร้อยละ 35-80 โดยใช้เวลา 7 ครั้ง ระยะที่ 2 การเพิ่มระยะทาง คิดเป็นร้อยละ 40-100 โดยใช้เวลา 4 ครั้ง ในระยะที่ 3 การแยกแยะภาพ คิดเป็นร้อยละ 60-100 โดยใช้เวลา 5 ครั้ง และระยะที่ 4 การสร้างประโยค คิดเป็นเป็นร้อยละ 45-80 โดยใช้เวลา 8 ครั้ง รวมเวลาในการสอนทั้งสิ้น 38 ครั้ง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของเด็กออทิสติกจากการสอนโดยวิธีเพ็คส์ (PECS)