ประสิทธิภาพการผลิตสุกรขุนในโรงเรือนระบบปิดของเกษตรกรในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

อภิรมย์ มะโร

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.พ. 636.4 อ16ป 2557

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของการผลิตสุกรขุนในโรงเรือนระบบปิดของเกษตรกรในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตสุกรขุนในโรงเรือนระบบปิดของเกษตรกรในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรขุนในโรงเรือนระบบปิด ในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จำนวน 32 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงซ้อน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45 ปี จบการศึกษาระดับมัธยม ประกอบอาชีพทำสวนเป็นหลัก มีรายได้เฉลี่ย 450,000 บาทต่อปี โดยเลี้ยงสุกรขุนเป็นอาชีพเสริม มีรายได้จากการเลี้ยงสุกร 350,000 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มีประสบการณ์การเลี้ยงสุกรเฉลี่ย 12 ปี ทำการเลี้ยงสุกรขุนในรูปแบบพันธะสัญญากับบริษัท มีสุกรในฟาร์มเฉลี่ย 700 ตัว มีโรงเรือน 2 หลัง และใช้แรงงานจากสมาชิกภายในครอบครัว 2) ระดับของประสิทธิภาพการผลิต พบว่า เกษตรกรมีประสิทธิภาพด้านรายได้ในระดับปานกลาง เฉลี่ย 553 บาทต่อตัว มีประสิทธิภาพด้านอัตราการเลี้ยงรอดระดับปานกลาง อัตราการเลี้ยงรอดเฉลี่ยร้อยละ 96.94 และมีประสิทธิภาพด้านอัตราแลกเนื้อระดับปานกลาง เฉลี่ย 2.24 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตสุกรขุน โดยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพด้านรายได้ประกอบด้วย จำนวนสุกรต่อรุ่น ระยะเวลาในการเลี้ยง และการจัดการด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพด้านอัตราการเลี้ยงรอดประกอบด้วย อายุของเกษตรกร องค์ประกอบฟาร์ม การจัดการด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ การจัดการด้านบุคลากร สถานภาพของเกษตรกร และรูปแบบธุรกิจ และปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพด้านอัตราแลกเนื้อ ประกอบด้วย การจัดการด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ ระบบการป้องกันและควบคุมโรค สถานภาพของเกษตรกร อาชีพของเกษตรกร อาชีพอื่น ๆ และรูปแบบธุรกิจ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ประสิทธิภาพการผลิตสุกรขุนในโรงเรือนระบบปิดของเกษตรกรในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา