ผลของการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หมัก ในสูตรอาหารผสมเสร็จ ต่อสมรรถภาพการผลิตของแพะ และการยอมรับ ของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

มาเหยด เถาวัลย์

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.พ.636.085 ม29ผ 2557

รายละเอียด: 

การศึกษาผลของการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หมัก ในสูตรอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถภาพการผลิตของแพะ และการยอมรับของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ทำการทดลองในแพะลูกผสมพื้นเมือง - แองโกลนูเบียน 50% เพศเมีย อายุประมาณ 4-6 เดือน น้ำหนักประมาณ 12-15 กิโลกรัม จำนวน 20 ตัว โดยสุ่มให้แพะแต่ละกลุ่มได้รับอาหาร ดังนี้ อาหารควบคุม (อาหารข้นร้อยละ 1.5 ของน้ำหนักตัว: หญ้าหมักอย่างเต็มที่) อาหาร TMR 1 (อาหารข้นร้อยละ 85 : หญ้าหมักร้อยละ 15) อาหาร TMR 2 (อาหารข้นร้อยละ 80 : หญ้าหมักร้อยละ 20) และอาหาร TMR 3 (อาหารข้นร้อยละ 75: หญ้าหมักร้อยละ 25) โดยให้แพะกินอาหารอย่างเต็มที่ ในระยะเวลาการทดลอง 84 วัน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลตามแผนการทดลองสุ่มสมบูรณ์ โดยมีการปรับน้ำหนักเริ่มต้นเป็นตัวแปร covariate จากการศึกษา พบว่า แพะที่ได้รับอาหาร TMR 1 และอาหาร TMR 2 มีสมรรถภาพการผลิตดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ และเมื่อพิจารณาถึงต้นทุนค่าอาหาร พบว่า อาหาร TMR 2 และอาหาร TMR 3 มีต้นทุนค่าอาหารต่ำที่สุด ดังนั้น อาหาร TMR 2 จึงมีความเหมาะสมที่สุดในการนำไปใช้ในการเลี้ยงแพะโดยมีปริมาณการกินอาหาร (416.324 กรัม/ตัว/วัน) การเพิ่มน้ำหนักตัว (5.160 กิโลกรัม/ตัว) อัตราการเจริญเติบโต (61.426 กรัม/ตัว/วัน) ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (9.756) และมีต้นทุนค่าอาหาร (2.641 บาท/ตัว/วัน) สำหรับการยอมรับของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่มีต่อเทคโนโลยีอาหารแพะโดยใช้อาหารผสมเสร็จในการเลี้ยงแพะ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยกับการเลี้ยงแพะด้วยอาหารผสมเสร็จ และมีเกษตรเพียงส่วนน้อยที่ไม่แน่ใจต่อการเลี้ยงในลักษณะนี้ เพราะต้องใช้ความรู้ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยังมีการยอมรับในระดับมากที่สุด และมีเกษตรกรที่มีการยอมรับในระดับ ปานกลาง ในความยากง่ายต่อการผลิตอาหารผสมเสร็จ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ผลของการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หมัก ในสูตรอาหารผสมเสร็จ ต่อสมรรถภาพการผลิตของแพะ และการยอมรับ ของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย