พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

เสาวรัตน์ ฉิมศรี

สำนักพิมพ์: 

สาขาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.พ.613.0438 ส517พ 2558

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา จำนวน 354 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ โดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลภาวะสุขภาพ โดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยใช้ ไค-สแควร์ และครามเมอร์ วี ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับสูง สำหรับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ของภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับสูง เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ ของผู้สูงอายุระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อาชีพมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ ของผู้สูงอายุระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์ กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ และลักษณะครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ นอกจากนี้พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา