การคัดแยกแบคทีเียที่ผลิตเอนไซม์โปรตีเอสทนร้อนในสภาวะด่างจากบ่อน้ำร้อน (Isolation of Thermostable Alkaline Protease Producing Bacteria from Hotspring)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เชาวนีพร ชีพประสพ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.พ.579.3 ช517ก

รายละเอียด: 

แบคทีเรียทนร้อนเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญ เนื่องจากจากความสามารถในการผลิตเอมไซม์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม การศึกษาครั้งนี้จึงทำการคัดแยกและศึกษาสภาวะที่มีผลต่อการผลิตเอนไซม์โปรตีเอสของแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากบ่อน้ำร้อนเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และบ่อน่ำร้อนทุ่งนุ้ย จังหวัดสตูล โดยสามารถคัดแยกแบคทีเรียทนร้อนได้ 41 สายพันธ์ แต่ละสายพันธ์สามารถแสดงกิจกรรมของเอมไซม์ที่แตกต่างกันเมื่อทำการทดสอบบนอาหารแข็ง skim milk อย่างไรก็ตามพบว่าสายพันธุ์ PS53 ที่แยกได้จากบ่อน้ำร้อนเขาชัยสน และสายพันธุ์ AN41 ที่แยกได้จากบ่อน้ำร้อนทุ่งนุ้ย แสดงวงใสรอบโคโลนีสูงสุดเมื่อทำการเลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง การวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน 16s rDNA ของแบคทีเรียทั้งสองสายพันธ์พบว่าสายพันธุ์ PS53 บ่งชี้สายพันธุ์ได้เป็น Bacilus cereus ในขณะที่สายพันธุ์ AN41 บ่งชี้สายพันธุ์ได้เป็น Bacilus tequilensis การศึกษาสภาวะของพีเอช อุณหภูมิ และระยะเวลาในการเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมต่อการผลิตเอมไซม์โปรตีเอส พบว่า Bacilus cereusสามารถผลิตเอนไซม์โปรตีเอสได้สูงสุดเมื่อทำการเลี้ยงที่พีเอช 9 อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ในเวลา 52 ชั่วโมง (163.86 U/ml) และ Bacilus tequilensis สามารถผลิตเอนไซม์โปรตีเอสได้สูงสุดเมื่อทำการเลี้ยงทำการเลี้ยงที่พีเอช 10 อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 52 ชั่วโมง (127.32 U/ml)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การคัดแยกแบคทีเียที่ผลิตเอนไซม์โปรตีเอสทนร้อนในสภาวะด่างจากบ่อน้ำร้อน