การแยกสาหร่าย Botryococcus braunii จากอ่างเก็บน้ำในจังหวัดสงขลา (Isolation of Botryococcus braunii from Freshwater Ponds of Songkhla)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ฮาบีบ๊ะ ดาแลหมัน, ฮายัร หลงกอหราบ

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ แขนงวิชาจุลชีววิทยา (Microbiology) คณะวิทยาศษสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

579.8 ฮ25ก

รายละเอียด: 

การแยกสาหร่าย B. braunii จากอ่างเก็บน้ำในจัหวัดสงขลา ได้แก่ อ่างเก็บน้ำมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อ่างเก็บน้ำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอ่าเก็บน้ำคลองหลา พบว่า สามารถแยกสาหร่าย B. braunii ได้ทั้งหมด 27 ไอโซเลท ได้แก่อ่างเก็บน้ำมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 9 ไอโซเลท อ่างเก็บน้ำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 9 ไอโซเลท และอ่างเก็บน้ำคลองเหลา 9 ไอโซเลท ซึ่งลักษณะของสาหร่ายที่พบเป็นสาหร่ายสีเขียว โดยลักษณะโคโลนีมีสีเขียว ความยาวของสาหร่ายประมาณ5 - 10 ไมโครเมตร และความก้วางประมาณ 4-6 ไมโครเมตร ซึ่งสาหร่าย B. braunii ที่แยกได้มีการเจริญสูงสุด คือ จากอ่างเก็บน้ำ วค. 1/1 โดยมีน้ำหนักเซลล์แห้ง 0.7400+- 0.0600 กรัมต่อลิตร รองลงมาคือ มอ. 2/2 และคลองหรา 1/2 ซึ่งมีปริมาณน้ำหนักเซลล์แห้งเท่ากับ 0.6267 ± 0.0115 และ 0.5733 ± 0.0808 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสาหร่าย B. braunii ที่แยกได้จากอ่างเก็บน้ำในจังหวัดสงขลา มีศักยภาพในการนำไปสกัดน้ำมัน และใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทางเลือต่อไปในอนาคต

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การแยกสาหร่าย Botryococcus braunii จากอ่างเก็บน้ำในจังหวัดสงขลา