ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีในอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล (FACTORS AFFECTING DECISION-MAKING IN CERVICAL CANCER SCREENING IN THUNG WA DISTRICT, SATUN PROVINCE)

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

วิชุมา พิชญ์วรกุล

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.พ.616.99466 ว32ป 2556

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ ปัจจัยด้านอิทธิพล กับการตัดสินใจเข้ารับ การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านการรับรู้ ปัจจัยด้านอิทธิพล ระหว่างสตรีที่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กับสตรีที่ไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในอำเภอ ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ในช่วงปีงบประมาณ 2553-2556 จำนวน 360 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สตรีที่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 237 คน และสตรีที่ไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 123 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนตามจำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายในแต่ละสถานบริการสาธารณสุข และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน เพื่อสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-Square เปรียบเทียบปัจจัยที่มี ผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างสตรีที่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กับสตรีที่ไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยด้านการรับรู้ และปัจจัยด้านอิทธิพลมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับ การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พบว่า สตรีที่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กับสตรีที่ไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีปัจจัยด้านการรับรู้ และปัจจัยด้านอิทธิพลมีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการสัมภาษณ์สนทนากลุ่ม พบว่า สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่น่ากลัว เพราะเป็นมะเร็งบริเวณระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง รวมถึงวิธีการตรวจของโรคนี้ยังทำให้โรคนี้มีความน่ากลัวมากยิ่งขึ้น เหตุผลจูงใจที่ทำให้สตรีเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ อันตรายของโรค และอาการแสดงของโรค ส่วนเหตุผลของสตรีที่ไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ ความอาย และกังวลว่าเจ้าหน้าที่ใกล้ชิดจะเป็นคนตรวจ วิธีทำให้สตรีได้รับข้อมูลเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก คือ การอบรมให้ความรู้และนำเสนอภาพอาการแสดงของโรคให้มากเพื่อให้สตรีได้รู้ถึงความอันตรายของโรคนี้มากยิ่งขึ้น

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีในอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล