ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
ธนกฤต นุ้ยกูลวงศ์ |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2558 |
|
เลขหมู่: |
ว.พ.616.91852 ธ15พ 2558 |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนครัวเรือนในเขตอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 393 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 6 ตอนคือ ข้อมูลทั่วไป ประวัติการป่วยเป็นไข้เลือดออก ความรู้และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับไข้เลือดออก การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดไข้เลือดออก ทัศนคติต่อการป้องกันไข้เลือดออก พฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออก สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi-square และหาระดับความสัมพันธ์ด้วย Cramer’s V ผลการศึกษาพบว่าประชาชนในอำเภอสะเดามี พฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกอยู่ในระดับดี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชนคือ เพศ อายุ สถานะผู้ให้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับไข้เลือดออก การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของไข้เลือดออก และทัศนคติต่อการป้องกันไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) โดยมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชนคือ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อาศัยอยู่ ประวัติการป่วยเป็นไข้เลือดออกในครัวเรือน การอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลไข้เลือดออกระบาดและการได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับไข้เลือดออก ดังนั้น ในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก ควรให้ความสำคัญและเน้นหนักในเรื่องการให้ความรู้เกี่ยวกับไข้เลือดออก การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของไข้เลือดออก ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชน |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
พฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชน กรณีศึกษา: อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
|