การปนเปื้อนของสารออร์แกโนทินชายฝั่งเมืองเก่าสงขลา (Contamination of Organotin on Songkhla Old-Town Coast)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ธิวาริ โอภิธากร, ธันวดี สุขสาโรจน์, บรรจง วิทยวีรศักดิ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.363.7394 ธ37ก

รายละเอียด: 

การศึกษาปริมาณสารออร์แกโนทินในตะกอนดินและน้ำทะเลตามแนวชายฝั่งเมืองเก่าสงขลา ทำการเก็บตัวอย่างน้ำและตะกอนจากจุดสำรวจ 5 จุด ในเดือนเมษายน 2559ได้แก่ ท่าแพขนานยนต์สงขลา ท่าเรือตรงข้ามสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจสงขลา ท่าเรือแหล่งพระราม ท่าเรือโรงสีแดงหับโห้หิ้น และท่าเรือข้างโรงแรมเลคอินน์ เตรียมน้ำตัวอย่างด้วย Liquid – liquid extraction และเตรียมตะกอนดินตัวอย่างด้วย Methanol-acid digestion ทำการวิเคราะห์ปริมาณสารออร์แกโนทินด้วย GC-MS ผลการวิเคราะห์ไม่พบการปนเปื้อนสารออร์แกโนทินในน้ำทะเลในทุกตัวอย่าง และผลการวิเคราะห์ด้วย ICP-OESไม่ปรากฏค่า Sn ในน้ำทะเลทุกตัวอย่าง ปริมาณออร์แกโนทินในตะกอนดินไม่เกินค่าที่ยอมรับให้มีได้ในตะกอน องค์ประกอบของออร์แกโนทินในตะกอนดินเป็นไตรบิวทิลทินมากที่สุด (37-56%) และไดบิวทิลทินน้อยที่สุด (14-33%) การประเมินสภาพแวดล้อมตามปัจจัยทางกายภาพ-เคมีของน้ำทะเลในทะเลสาบสงขลาพบว่าค่าความเป็นกรดด่างเฉลี่ยของน้ำทะเลและอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลมีค่าสูงในเดือนเมษายนถึงสิงหาคม สารออร์แกโนทินจะมีการละลายน้ำได้ดีกว่าช่วงเดือนอื่นๆ โดยผลการตกจมและการแขวนลอยใหม่ด้วยไตรบิวทิลทินคลอไรด์และวิเคราะห์ด้วยสมการสมดุลมวลสารและแบบจำลองแผนภาพ พบว่าไตรบิวทิลทินมีการตกจมพร้อมการดูดติดตะกอนอย่างรวดเร็วเมื่อมีการละลายในน้ำ ระบบเข้าสู่สภาวะสมดุลระบบหลังจากเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง และมีการแขวนลอยใหม่ของไตรบิวทิลทินในอัตราที่ต่ำมาก ดังนั้นการปนเปื้อนของสารออร์แกโนทินตามแนวชายฝั่งเมืองเก่าสงขลาจึงมีการชะละลายจากแหล่งกำเนิดในบริเวณที่สำรวจมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และสารออร์แกโนทินมีการลดความเป็นพิษของไตรบิวทิลทินเป็น โมโนบิวทิลทิน นอกจากนี้สารออร์แกโนตินที่สะสมมีอยู่ปริมาณน้อยในตะกอนมีโอกาสแขวนลอยใหม่และแพร่กระจายได้ยาก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การปนเปื้อนของสารออร์แกโนทินชายฝั่งเมืองเก่าสงขลา