การออกแบบโนราเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา (The Choreography of Nora Dance for Klongdan floating market Touristsm Support Ranote District Songkhla Province.)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ทัศนียา คัญทะชา

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.791.1 ท118ก

รายละเอียด: 

การออกแบบการแสดงโนราเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำาคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการแสดงโนราในตลาดริมน้ำคลองแดน และออกแบบการแสดงโนราเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำคลองแดน 1ชุด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) โดยใช้ตัวผู้วิจัย แบบสอบถามแบบไม่เป็นทางการ การสังเกต การสนทนากลุ่ม แบบบันทึก ข้อมูลภาคสนาม และโซเชี่ยลมีเดีย (Facebook) เป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าการแสดงโนราในตลาดริมน้ำคลองแดน แสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 30พ.ค.2552 ซึ่งเป็นวันที่คณะนักวิจัยชุดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงรุกเพื่อฟื้นฟูชุมชนในชนบท กรณีศึกษา : ชุมชนวิถีพุทธคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ส่งมอบงานวิจัยให้ชุมชน ใช้นักแสดงทั้งหมด 65 คน มีการรำโนราบนสะพานไม้เพื่อสื่อถึงนิยามของชุมชน “สามคลองสองเมือง” นักแสดงเป็นนักเรียนจากโรงเรียนคลองแดนวิทยา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 11 และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา การแสดงโนราในตลาดริมน้ำคลองแดนตั้งปี 2552 – 2559 มี 6 รูปแบบ ได้แก่ การรำประสมท่ารำบทสอนรำ รำบทประถม รำบทครูสอน การออกพราน และการเชิดหุ่น ลีลาท่ารำ 2 สายตระกูล คือ สายท่านขุนอุปถัมภ์นรากร และโนราหนูอาบ เจริญศิลป์ นักแสดงจากสองโรงเรียนในชุมชนคลองแดน คือ โรงเรียนคลองแดนวิทยาและโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 11จากผลการศึกษาประวัติการแสดงโนรา ในตลาดริมน้ำคลองแดน นำมาออกแบบการแสดงโนราซึ่งได้แนวคิดจากเอกลักษณ์เฉพาะจุดเด่นของชุมชน และความนิยมของนักท่องเที่ยวในสมัยนี้ชื่นชอบการถ่ายภาพลงโซเชี่ยลมีเดีย (Facebook) จึงออกแบบการแสดงชุด “จินตภาพโนราคลองแดน” เป็นการแสดงประกอบการร้องบททำนองเพลงทับเพลงโทน ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่ในบทร้องมีเนื้อหาสื่อถึงอัตลักษณ์ของชุมชนและเชิญชวนนักท่องเที่ยว ท่ารำแบ่งออกเป็น 3ช่วง คือ ช่วงที่ 1ร าประสมท่าใช้ท่ารำ 11ท่า ช่วงที่ 2ร าประกอบบทร้องทำนองเพลงทับเพลง โทนใช้ท่ารำ 24ท่า และช่วงที่ 3รำท่าครูใช้ท่ารำ 3ท่า รวมท่ารำทั้งหมด 38ท่า การสร้างสรรค์การแสดงโนราให้เป็นลักษณะเฉพาะของสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ สามารถทำให้นักท่องเที่ยวที่ได้ชมการแสดงจะเข้าใจประวัติที่มาของสถานที่ท่องเที่ยวไปด้วย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การออกแบบโนราเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา