การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำกากส่าของโรงงานสุรากลั่นชุมชนโดยใช้กลยุทธ์การหมักร่วม (Enhanced Efficiency for Biogas Production from Distillery Wastewater of Community Refined Liquors Plant by Using the Co-Digestion Strategy)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เกียรติศักดิ์ พันธ์พงศ์, นวิทย์ เอมเอก, ธิวาริ โอภิธากร

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.665.776 ก617ก

รายละเอียด: 

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำกากส่าของโรงงานสุรากลั่นชุมชน(DWCRLP) โดยหมักร่วมแบบไร้อากาศกับของเสียกลีเซอรอล (GW) และกากน้ำตาล (ML) ความเป็นไปได้ของการใช้ GWและ MLเป็นสารหมักร่วมกับน้ำกากส่าของของโรงงานสุรากลั่นชุมชน (DWCRLP) ถูกตรวจสอบโดยใช้ bio-methane potential (BMP) โดยทำการทดสอบที่ความเข้มข้นของ GWและ MLในช่วง 1-5% (v/v) กระบวนการหมักร่วมแบบไร้อากาศของ 5%GW กับน้ำกากส่าของของโรงงานสุรากลั่นชุมชน (DWCRLP) มีศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณของก๊าซชีวภาพ ให้การผลิตมีเทนและผลผลิตก๊าซมีเทนสูงสุดเป็น 2,245 ml และ706 ml CH4/g VSตามลำดับเพิ่มขึ้นประมาณ 300% ซึ่งมากกว่าการย่อยสลายของ DWCRLPเพียงอย่างเดียว สมการ modified Gompertz model สามารถทำนายผลผลิตมีเทน (Methane yield) ได้เป็นอย่างดีเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจากการทดลอง สังเกตได้จากค่าความเชื่อมั่นทางสถิติ(R2) > 0.95 ในระบบต่อเนื่องใช้ถังปฏิกรณ์แบบ CSTR (DWCRLP+5%GW) ผลการทดลองแสดงให้ให้เห็นว่า ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ (OLR) เท่ากับ 4 g-COD/L.dayให้ผลผลิตมีเทนสูงสุด (Maximum methane yield) เท่ากับ 858 mLCH4/g VS-added (352 mL-CH4/g-CODremoved) และมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนในก๊าซชีวภาพ 62.28%ซึ่งใกล้เคียงกับผลผลิตมีเทนที่ได้จากการทดลองแบบกะ (Batch) (706 mLCH4/g VS-added)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำกากส่าของโรงงานสุรากลั่นชุมชนโดยใช้กลยุทธ์การหมักร่วม