ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
สัญญา เผ่าพืชพันธ์ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2557 |
|
เลขหมู่: |
||
รายละเอียด: |
ผู้วิจัยได้ทาการวิเคราะห์บทเพลงโดยใช้หลักของการวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีดนตรีสากล ซึ่งเพลงเหล่านี้ที่นำมาทำการวิเคราะห์ เป็นเพลงของชาวอูรักลาโว้ยบ้านสังกาอู้ ในพิธีกรรมแก้บนเพลงรองเง็งชาวอูรักลาโว้ย ผู้วิจัยจึงนำหลักการวิเคราะห์เพลงมาใช้ให้เหมาะสมกับการศึกษาวิจัย โดยได้ตั้งประเด็นไว้ดังนี้ 1. รูปแบบเพลง 2. ทำนองเพลง 3. จังหวะ 4. ลักษณะการบรรเลง จากการวิเคราะห์บทเพลงไม่ทราบชื่อ จำนวน 3 เพลง สำหรับเพลงที่ทราบชื่อ คือ เพลงจะยังเจะมิเละ, เพลงจินตาซายัง และเพลงซะปาอิตู้ บทเพลงทั้งหมดดำเนินทำนองด้วยไวโอลินและเสียงร้องเป็นหลัก บทเพลงมีการดำเนินทำนองตั้งแต่ 1 ช่วงเสียงจนสูงถึง 2 ช่วงเสียง บทเพลงมีการดำเนินขั้นคู่ทั้งแบบข้ามขั้น (Disjunct motion) และการเคลื่อนที่แบบตามขั้น (Conjunct motion) ทิศทางการดำเนินทำนองมีทั้งคงที่ เคลื่อนไปทิศทางขึ้น และเคลื่อนไปในทิศทางลง ลักษณะจังหวะบางเพลงเข้าจังหวะแบบปกติ และบางเพลงมีการเข้าจังหวะที่ 2 ซึ่งเป็นการเข้าจังหวะขัด (Syncopation)หรือการเข้าต้นเพลงในจังหวะพิเศษหรือจังหวะยก (Anacrusis) จากการศึกษาทางมานุษยดรุยางควิทยา ผู้วิจัยเป็นเพียงผู้ที่นำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์แต่ยังขาดการส่งเสริมทางด้านดนตรีรองเง็ง ที่เห็นว่ากำลังจะถูกลบเลือนไปจากชาวอูรักลาโว้ยเพราะไม่มีผู้สนใจมาก สืบเนื่องต่อไปซึ่งเห็นเป็นวิกฤตการณ์มากขึ้น |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ดนตรีรองแง็งชาวอูรักลาโว้ย บ้านสังกาอู้ ต.เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ |
|