ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
สัลวา ตอปี , สุธินี หีมยิ |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2559 |
|
เลขหมู่: |
ว.579.8 ส117ป |
|
รายละเอียด: |
ปัจจุบันการผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายได้รับความสนใจและมีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสาหร่ายสามารถเจริญได้รวดเร็ว ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงน้อยเมื่อ เทียบกับการเพาะปลูกปาล์มหรือพืชน้ำมันอื่นๆ นอกจากนี้น้ำมันในสาหร่ายส่วนใหญ่เป็น ไตรกลีเซอไรด์ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดแยกสาหร่าย B. brouni และศึกษาปัจจัยที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายที่สามารถผลิตน้ำมันได้สูง โดยเก็บตัวอย่างน้ำ 5 แหล่ง ได้แก่ ทะเลสาบตอนล่าง ทะเลสาบตอนกลาง อ่างเก็บน้ำมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อ่างเก็บน้ำ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอ่างเก็บน้ำคลองหลา ผลการวิเคราะห์พารามิเตอร์ทางกายภาพ พบว่า ค่า pH ของน้ำบริเวณทะเลสาบสงขลามีค่า pH สูงกว่าน้ำบริเวณอ่างเก็บน้ำในจังหวัดสงขลา และมีความเค็มเท่ากับ 1.93 : 0.12 และ 170 - 0.27 ppm (ทะเลสาบสงขลาตอนล่างและ ตอนกลางตามลําดับ) ส่วนอุณหภูมิและปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด พบว่าตัวอย่างน้ำจากบริเวณ ทะเลสาบมีอุณหภูมิและค่าไนโตรเจนทั้งหมดต่ำกว่าบริเวณอ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ค่า BOD, และ DO พบว่าตัวอย่างน้ำที่เก็บจากทะเลสาบและอ่างเก็บน้ำมีค่าใกล้เคียงกัน จากนั้นนํามาแยกสาหร่าย B. brouni โดยเพาะเลี้ยงในอาหาร BG1 พบว่า สามารถแยกสาหร่าย B. brouni ได้ทั้งหมด 18 ไอ โซเลท แล้วนํามาคัดเลือกสาหร่ายที่มีความสามารถเจริญเติบโตได้ดี พบว่า ไอโซเลท L2 มีน้ำหนัก เซลล์แห้งสูงสุดเท่ากับ 0.708 + 0.067 กรัม/ลิตร (ปริมาณน้ำมันเท่ากับ 0.035 + 0.007 กรัม/ลิตร) ผลการศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญของสาหร่าย B. brouni โดยศึกษาปริมาณแหล่งคาร์บอน ที่เหมาะสมและอัตราส่วน C/N ที่เหมาะสม พบว่าปริมาณแหล่งคาร์บอนที่เหมาะสม ที่ความเข้มข้น ของน้ำตาลกลูโคส 4 กรัมต่อลิตร เซลล์สาหร่ายสามารถสะสมน้ำมันได้ปริมาณสูง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ยีลด์ (Yield) เท่ากับ 11.91 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลของอัตราส่วน C/N ที่เหมาะสม พบว่า อัตราส่วน C/N เท่ากับ 10 มีปริมาณน้ํามันสูงสุด โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ยีลด์เท่ากับ 14.28 เปอร์เซ็นต์ และจาก การศึกษาองค์ประกอบของน้ำมันจากสาหร่าย B. brauni ไอโซเลท L2 ซึ่งผ่านการคัดเลือก โดย วิเคราะห์ Fatty Acid Methyl Esters (FAMEs) ด้วย Gas Chromatography (GC) พบว่าสาหร่าย สามารถผลิตกรดไขมัน (Fatty Acid) ซึ่งมีปริมาณ Palmitic Acid (C16:0) สูงสุด คือ 37.12 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ Oleic Acid (C18:1) เท่ากับ 24.65 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดลองสรุปได้ ว่า สาหร่าย B. brouni ไอโซเลท 12 มีศักยภาพในการประยุกต์ต่อยอดเพื่อใช้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (ช) ต่อไปในอนาคต คําสําคัญ: Botryococcus brauni, ทะเลสาบสงขลา , อ่างเก็บน้ำ , น้ำมันจากสาหร่าย |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Botryococcus braunii ที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำมันได้สูง |
|