ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2558 |
|
เลขหมู่: |
ว.371.912 ส86น |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่กำลังศึกษาอยู่ที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสงขลาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2558 ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 12 คน และผู้บริหาร และครูผู้สอนคนพิการ จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) ด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 10 คน ในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน” ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจับใจความสำคัญและสร้างข้อสรุปร่วมกันถึงแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พบว่า ประกอบด้วย 1) ด้านหลักสูตร สภาพปัจจุบันใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสภาพการเรียนรู้ 5 สาระ ส่วนปัญหาหลักสูตรไม่มีความยืดหยุ่น 2) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ สอนตามแผนการสอนรายวิชาต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 1 วิชา จะเรียน 3 สัปดาห์ ส่วนปัญหาคือ การสื่อสาร และความสามารถทางภาษาไทยอ่าน – เขียนต่ำ 3) ด้านสื่อการสอน มีหนังสือเรียนและแผ่นซีดี ส่วนปัญหาคือ มีสื่อไม่เพียงพอและไม่เหมาะกับคนพิการแต่ละประเภท 4) ด้านการวัดผลและประเมินผล เหมือนนักเรียนทั่วไป ส่วนปัญหา คือ นักเรียนทำคะแนนได้น้อย เพราะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ผลการศึกษาแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พบว่า ประกอบด้วยแนวทาง 4 ด้าน คือ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านสื่อการสอน 4) ด้านการวัดผลและการประเมินผล และข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญดังนี้ 1) ควรมีการจัดสรรงบประมาณในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักศึกษาคนพิการโดยเฉพาะ 2) ควรมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับประเทศในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักศึกษาคนพิการโดยมีผู้เข้าร่วมระดับผู้บริหารที่กำหนดนโยบาย และขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 3) ควรมีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักศึกษาคนพิการทุกประเภท ทั้งภาครัฐ และเอกชน 4) ควรมีการจัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือนักศึกษาคนพิการประจำ กศน. จังหวัด 5) ควรมีการจัดทำหลักสูตรการศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย เฉพาะประเภทความพิการ 6) ควรมีการจัดทำคู่มือ และแนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการเฉพาะประเภทความพิการ และเอกสารประกอบการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการแต่ละประเภท 7) ควรมีการจัดฝึกอบรมครูผู้สอนคนพิการ ให้มีความรู้ความสามารถในการสอนนักศึกษาพิการแต่ละประเภท 8) ควรมีการจัดสรรตำแหน่งครูผู้สอนคนพิการให้มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ 9) ควรมีการบรรจุครูผู้สอนที่เป็นคนพิการให้เหาะสมตามประเภทความพิการ และคุณสมบัติที่เหาะสมตามเกณฑ์ และ 10) ควรจัดสวัสดิการค่าตอบแทนพิเศษให้ครูผู้สอนคนพิการ คำสำคัญ : แนวทางการจัดการศึกษา, การศึกษานอกระบบโรงเรียน, บกพร่องทางการได้ยิน |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน |
|