การเพิ่มการรอดชีวิตและกิจกรรมแมทาบอลิซึมของเชื้อ Lactobacillus plantarum TISIR1465 โดยวิธีการห่อหุ้มร่วมกับว่านหอมแดง (Survival and metabolic activity enhancements of Lactobacillus plantarum TISTR1465 by co-encapsulation with Eleutherine americana)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อัจฉรา เพิ่ม

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.641.45 อ112ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรอดชีวิตและกิจกรรมแมทาบอลิซึมของเชื้อ Lactobacillus plantarum TISTR1465 ที่ถูกห่อหุ้มด้วยสารโอลิโกแซคคาไรด์ที่สกัดจากว่านหอมแดง เปรียบเทียบกับเชื้ออิสระ ที่เก็บรักษาไว้ในสารละลายเพปโตนและโยเกิร์ตแบบแช่เย็นที่อุณหภูมิ4 ๐ C เป็นเวลา 0, 2 และ 4 สัปดาห์ และการทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยการทดสอบชิมโยเกิร์ตที่บรรจุ และไม่บรรจุเม็ดบีด เมื่อผ่านการทดสอบในสภาวะจําลองของกรดในกระเพาะอาหาร และเกลือน้ําดีใน ลําไส้เล็กแบบต่อเนื่องและการแช่เย็น พบว่าเชื้อที่ถูกห่อหุ้มมีการรอดชีวิตที่สูงกว่าเชื้ออิสระที่เวลา 0 2 และ 4 สัปดาห์ โดยเชื้อที่ถูกห่อหุ้มด้วยสารโอลิโกแซคคาไรด์ที่สกัดจากว่านหอมแดงจะมีการรอดชีวิตสูง ที่สุดในสัปดาห์ที่ 4 มีค่ามากกว่า 107 cfu/g แต่เชื้ออิสระไม่สามารถรอดชีวิตได้ เชื้อที่ถูกห่อหุ้มที่เก็บไว้ใน สารละลายเพปโตนจะมีการรอดชีวิตที่ดีกว่าเชื้อที่เก็บไว้ในโยเกิร์ต เชื้อที่ถูกห่อหุ้มจะมีการสร้างกรด แลคติกในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับเชื้ออิสระ เชื้อที่ถูกห่อหุ้มมีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC25923 ได้ดีกว่าเชื้อ Salmonella Typhimurium ATCC13311 โดยที่เชื้อที่ถูกห่อหุ้มมีโซนการยับยั้งเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษที่ดีกว่าเชื้ออิสระ คะแนนความชอบรวมต่อ โยเกิร์ตที่บรรจุเม็ดบีดจะอยู่ในช่วง 7.29-7.47 (ชอบปานกลาง) และคะแนนความชอบรวมมีความ แตกต่างกันระหว่างโยเกิร์ตที่บรรจุและไม่บรรจุเม็ดบีดในสัปดาห์ที่ 4 จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการ ห่อหุ้มเชื้อ L.plantarum TISTR1465 ด้วยสารโอลิโกแซคคาไรด์ที่สกัดจากว่านหอมแดงสามารถเพิ่ม คุณสมบัติที่ดีของเม็ดบีดทั้งที่เก็บในสารละลายเพปโตนและโยเกิร์ต

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การเพิ่มการรอดชีวิตและกิจกรรมแมทาบอลิซึมของเชื้อ