ความเป็นไปได้ของการสื่อสารอนุรักษ์ภูมิปัญญาพรรณไม้รักจังหวัดสงขลาเพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐมีสาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (Trends of Communication for preserving the wisdom of crown flower plants in Songkhl

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อาชารินทร์ แป้นสุข, นันทยา ศรีวารินทร์, มุจลินทร์ ผลกล้า, รุศดา แก้วแสงอ่อน

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.581.9593 ค17

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาพรรณไม้รัก(ต้นรัก)ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการสื่อสารอนุรักษ์พรรณไม้รัก(ต้นรัก)จังหวัดสงขลาในอนาคตสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี การวิจัยโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ระหว่าง การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือชาวบ้านที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อศึกษาภูมิปัญญาพรรณไม้รัก(ต้นรัก)ในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 300 คน และการวิจัยเทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างคือผู้เชี่ยวชาญของสถาบันการศึกษาของในจังหวัดสงขลา จำนวน 17 คน ผลการวิจัยดังนี้ 1) การวิจัยเชิงสำรวจ พบว่า พื้นที่ที่มีการปลูกพรรณไม้รัก(ต้นรัก)เป็นพื้นที่รอบบ้านตามรั้ว ที่ดินว่างเปล่าหรือพื้นที่อเนกประสงค์ของบ้านที่พักอาศัยและบริเวณริมถนนที่เป็นส่วนบุคคล และอำเภอเมืองสงขลาฝั่งทะเลชลาทัศน์เป็นแหล่งการปลูกพรรณไม้รัก(ต้นรัก)ที่สำคัญ ชนิดของดอกรักเป็นลักษณะของสีขาวและสีม่วงใช้ประโยชน์ของพรรณไม้รักด้านพิธีกรรมด้านศาสนาพุทธ เป็นลักษณะของการสืบทอดจากรุ่นปู่ รุ่นย่า รุ่นตา รุ่นยาย และรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่เป็นการสืบทอดในครอบครัวเรือนเท่านั้น และมีความต้องการให้มีการอนุรักษ์ พรรณไม้รัก(ต้นรัก)เพื่อเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดสงขลาในบริบทของพื้นที่พหุวัฒนธรรมและ เป็นสวนนันทนาการในพื้นที่ชายทะเลที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ 2) การวิจัยเทคนิคเดลฟาย พบว่า ความเป็นไปได้ของการสื่อสารอนุรักษ์พรรณไม้รัก(ต้นรัก) จังหวัดสงขลาในอนาคตสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1.พรรณไม้รัก(ต้นรัก)ควรได้รับการอนุรักษ์ด้านฐานะที่เป็นของมงคลของจังหวัดสงขลา 2.จัดแปลงเกษตรตัวอย่างแสดง แปลงทดลอง การอนุรักษ์พรรณไม้รัก(ต้นรัก) 3.คัดเลือกคนที่เหมาะสมมาเรียนรู้พรรณไม้รักด้วยการถ่ายทอดอย่างน้อยอำเภอละ 1 แปลง เพื่อสนองพระราชดำริฯที่ต้องการให้พรรณไม้รัก(ต้นรัก)คงอยู่ 4.สร้างความเข้าใจเกี่ยวการอนุรักษ์และการส่งเสริมการตลาด 5.คัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมและมีความหลากหลาย รวมทั้งขยายผลให้คนที่สนใจ 6.สร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์ระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักธรณีวิทยา นักสัณฐานวิทยา นักชีววิทยา 7.ทำให้ชุมชนเห็นคุณค่าของการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมและประณีตศิลป์จากพรรณไม้รัก(ต้นรัก) 8.ทำให้เด็กและเยาวชนในจังหวัดเห็นคุณค่าของการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมและประณีตศิลป์จากพรรณไม้รัก(ต้นรัก) โดยการจัดตั้งกลุ่มเยาวชนอาสา และมีการส่งต่อการทำงานของกลุ่มแบบรุ่นต่อรุ่น 9.จัดตั้งศูนย์เรียนรู้พรรณไม้รัก(ต้นรัก)ที่เป็นแหล่งเรียนรู้แบบครบวงจร ทั้งด้านการปลูก การแปลงเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และการจัดจำหน่าย 10.ส่งเสริมการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ทำให้มีการซื้อขายพรรณไม้รัก(ต้นรัก)มากขึ้น 11.การจัดทำข้อมูลเผยแพร่ความรู้เกี่ยวพรรณไม้รักในรูปแบบต่างๆที่ทันสมัย เข้าถึงได้ง่าย เช่น สิ่งพิมพ์ CD สื่ออิเล็กทรอนิคส์ Website Page Social media เป็นต้น 12.ส่งเสริมพรรณไม้รัก(ต้นรัก)ให้เป็นพืชเศรษฐกิจ 13.สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์และพัฒนาให้เข้มแข็ง 14.ด้วยพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี จะส่งผลให้มีความเป็นไปได้และได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในการอนุรักษ์พรรณไม้รักตามพระราชดำริ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ความเป็นไปได้ของการสื่อสารอนุรักษ์ภูมิปัญญาพรรณไม้รักจังหวัดสงขลาเพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา