การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองพัทลุงที่ทนต่อสภาวะแห้งแล้งด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช : ข้าวเหนียวดำหมอและเปลือกขาว (In-vitro Drought-tolerant Selection of Pattalung is Rice Varieties: Oryza sativa var. glutinosa)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

จักรกริช อนันตศรัณย์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.633.1823 จ111ก

รายละเอียด: 

ข้าวพื้นเมืองจังหวัดพัทลุงมีความหลากหลายสูงและกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะพื้นที่ปลูกลดลงและภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น ข้าวเหนียวดำหมอและเปลือกขาวเป็นข้าวเหนียวสี พื้นเมืองที่มีลักษณะสายพันธ์ดีเด่นของจังหวัดพัทลุง จึงเป็นที่มาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าวทั้งสอง สายพันธุ์เมล็ดข้าวถูกฟอกฆ่าเชื้อโดยจุ่มเอธิลแอลกอฮอล์ 95% 20 วินาที ต่อด้วยสารละลาย โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 1% 20 นาที ปอกเปลือกข้าวออกแล้วเลี้ยงในสูตรอาหาร MS (Murashige & Skoog, 1962) ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 0-1.0 มิลลิกรัมต่อลิตรเพื่อชักน ายอด และใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม 2,4-D ความเข้มข้น 0-4 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักน าแคลลัส โดยเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่ ควบคุมอุณหภูมิ 25 ± 2 C และให้แสงสว่าง 16 ชั่วโมงต่อวัน 8 สัปดาห์ ข้าวสองสายพันธุ์ เจริญเติบโตใกล้เคียงกัน อาหารที่เหมาะสมต่อข้าวทั้งสองชนิดในการชักนำยอดและแคลลัส คือ MS + TDZ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ MS + 2,4-D 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ แล้วย้ายเลี้ยงยอดในสูตร อาหาร MS + TDZ 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่เติม PEG ความเข้มข้น 0-10.0% เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ข้าวทั้งสองสายพันธุ์มีตอบสนองแตกต่างกันเล็กน้อย โดยข้าวเหนียวด าเปลือกขาวมีการ ตอบสนองต่อ PEG มากกว่าข้าวเหนียวดำหมอ เนื้อเยื่อข้าวเลี้ยงใน PEG ความเข้มข้น ≤ 5% จำนวน และลักษณะยอดเจริญเติบโตได้ดีและมีความผิดปกติลดลง การชักนำเนื้อเยื่อข้าวในหลอดทดลองด้วย PEG ได้รับผลกระทบจากอาหารที่ใช้เลี้ยงก่อนชักน้ำ PEG และข้าวทั้งสองสายพันธุ์อนุบาลได้ยาก ข้าว ที่ย้ายจาก PEG ความเข้มข้นสูงตายภายในอาทิตย์แรก ดังนั้น เนื้อเยื่อข้าวทนต่อการขาดน้ำในหลอดทดลองได้ดีหรือไม่ขึ้นกับข้าว (พันธุกรรม ธรรมชาติของข้าวและอายุของเนื้อเยื่อ) สูตรอาหาร (ชนิด และสารควบคุมการเจริญเติบโตที่ใช้เลี้ยงก่อนและขณะทดสอบ) และPEG (ชนิดความเข้มข้นและ ระยะเวลาให้สาร) ส่วนการอนุบาลของเนื้อเยื่อข้าวหลังการเหนียวน าขึ้นกับสภาพอากาศ ความแข็งแรงของเนื้อเยื่อที่ย้ายเลี้ยง

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองพัทลุงที่ทนต่อสภาวะแห้งแล้งด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช : ข้าวเหนียวดำหมอและเปลือกขาว