การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของเม็ดบีดอัลจิเนต/ไคโตซาน/ซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลต่อเชื้อ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ( A study of antibacterial activity of alginate/chitosan/ silver nanoparticle beads on Escherichia coli and Staphylococcus

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ภวิกา มหาสวัสดิ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.579.3 ภ17ก

รายละเอียด: 

ซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่กว้าง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ Escherichia coliATCC 25922 และ Staphylococcus aureusATCC 25923 ของเม็ดบีดอัลจิเนต/ ไคโตซาน/ซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิล (S1, S2 และ S3) และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการปลดปล่อยซิลเวอร์ไอออน และ/หรือซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิล จากเม็ดบีดอัลจิเนต/ไคโตซาน/ ซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิล ต่อฤทธิ์ต้านเชื้อ E. coli และ S. aureus ความเข้มข้นเริ่มต้นของอัลจิเนต/ไคโตซานที่ใช้เป็น 2%w/v และ 0.05%w/v ตามลำดับ สำหรับการเตรียมเม็ดบีด S1 หลังจากนั้น เพิ่มความเข้มข้นของอัลจิเนตเป็น 4 และ 6%w/v และความเข้มข้นของไคโตซานเป็น 0.1 และ 0.15%w/v สำหรับการเตรียมเม็ดบีด S2 และ S3 ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกับเม็ดบีดที่ไม่มีซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิล (C1, C2 และ C3) จากผลการทดลองพบว่า เม็ดบีด S1 (1,149.76 ± 201.27µm) ที่เตรียมได้ มีขนาดเล็กกว่าเม็ดบีด S2 (1,263.18 ± 203.71 µm) และเม็ดบีด S3 (1,324.50 ± 197.80 µm) ตามลำดับ (p>0.05) นอกจากนี้ ความสามารถในการบรรจุซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลในเม็ดบีด S1 (0.99 ± 0.02 %w/w) มากกว่าเม็ดบีด S2 (0.6 ± 0.02 %w/w)และเม็ดบีด S3 (0.29 ± 0.01 %w/w) ตามลำดับ (p<0.05) นอกจากนี้พบว่า เม็ดบีด S1, S2 และ S3สามารถลดปริมาณเชื้อ E. coli และ S. aureus ที่มีชีวิตใน PBS (pH 7.4) ได้มากกว่าเม็ดบีด C1, C2 และ C3อย่างมีนัยสำคัญ ตามลำดับ (p<0.05)ค่า MBC ของเม็ดบีด S1, S2 และ S3 ต่อเชื้อ E. coli มีค่าเป็น 10, 10 และ 3 µg/ml ตามลำดับ และค่า MBC ของเม็ดบีด S1, S2 และ S3 ต่อเชื้อ S. aureus มีค่าเป็น >10, 10 และ 10 µg/ml ตามลำดับ นอกจากนี้ เมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นของซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลเพิ่มขึ้น ปริมาณซิลเวอร์ไอออน และ/หรือซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลที่ตรวจพบเพิ่มขึ้นเช่นกัน ถึงแม้ว่า เม็ดบีด S1 สามารถปลดปล่อย ซิลเวอร์ไอออน และ/หรือซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลได้มากกว่าเม็ดบีด S2 และเม็ดบีด S3 ตามลำดับ ฤทธิ์ฆ่าเชื้อ E. coli และ S. aureus ของเม็ดบีด S3 มีแนวโน้มยับยั้งเชื้อได้ดีกว่าเม็ดบีด S2 และ S1 ตามลำดับ จึงเป็นไปได้ว่า ฤทธิ์ฆ่าเชื้อ E. coli และ S. aureus ของเม็ดบีด S1, S2 และ S3 นั้น ไม่ได้ขึ้นกับซิลเวอร์ไอออน และ/หรือซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลที่ปลดปล่อยออกมาเพียงอย่างเดียว อาจขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของอัลจิเนต/ไคโตซานด้วย ดังนั้นเม็ดบีดอัลจิเนต/ไคโตซาน/ซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลที่เตรียมได้ในการศึกษานี้ สามารถนำไปใช้ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของเม็ดบีดอัลจิเนต/ไคโตซาน/ซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิลต่อเชื้อ