การพัฒนาแบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติก อายุ 4-24 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) (The Development of the Screening Tool for Infants and Toddlers (4 -24 months) Who Are at Risk for Autism Spectrum Disorders (Parent Form)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ณัฐรินทร์ แซ่จุง, กุลยา ก่อสุวรรณ, ยุวดี วิริยางกูร

สำนักพิมพ์: 

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.371.9 ณ113ก

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 4-24 เดือน ที่ผู้ปกครองซึ่งไม่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับกลุ่มอาการออทิสติกสามารถใช้งานได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของทารกและเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 4-24 เดือนที่เข้ารับการตรวจพัฒนาการที่โรงพยาบาลหาดใหญ่และโรงพยาบาลสงขลาในเดือนมิถุนายน 2557 – ธันวาคม 2559 จำนวน 1,024 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตามความสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือในการวิจัยนี้ประกอบด้วย แบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 4 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง)แบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 6เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) แบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 9 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) แบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 12 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) แบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 18 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) และ แบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 24 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าความถี่และร้อยละ ค่าความเชื่อมั่น ค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก และค่าทำนายผลลบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คณะผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมเด็กขณะผู้ปกครองกรอกข้อมูล พบว่า เด็ก 49 คนจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1.024 คน (คิดเป็นร้อยละ 4.8) มีอาการของภาวะออทิสติก และเห็นอาการของภาวะออทิสติกในเด็กอายุ 24 เดือนมากที่สุด คือ18 คน(ร้อยละ16.8 ของเด็กอายุ 24 เดือนทั้งหมด) 2. ค่าความเชื่อมั่นของแบบคัดกรองสำหรับเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 4-24 เดือน(สำหรับผู้ปกครอง) มีตั้งแต่ - .011 ถึง .571 3. ค่าความไวและการทำนายผลบวกค่อนข้างดี แต่ค่าความจำเพาะและการทำนายผลลบนั้นค่อนข้างต่ำ 4. ในแบบคัดกรองสำหรับเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 4 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) และ แบบคัดกรองสำหรับเด็กที่เสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 6 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) ข้อคำถามส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับผลการประเมินอย่างละเอียดค่อนข้างต่ำหรือไม่สอดคล้องเลย 5. ในแบบคัดกรองสำหรับเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 9เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) ข้อคำถามส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับผลการประเมินอย่างละเอียด ยกเว้น “ข้อ 13 กรีดร้องโดยไม่มีเหตุผล” เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองตอบว่ากรีดร้องอย่างไม่มีเหตุผลเป็นประจำและเข้ารับการประเมินนั้นมีอาการของภาวะออทิสติก 6. ในแบบคัดกรองสำหรับเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 12 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) เด็กทุกคนที่เข้ารับการประเมินอย่างละเอียดและผู้ปกครองตอบว่าจับมือผู้ใหญ่ทำสิ่งต่างๆ โดยไม่ทำเองเป็นประจำ และเด็กที่ร้องไห้ หันหน้าหนี ไม่ยอมให้คุ้นเคยอุ้มเป็นประจำนั้นมีอาการของภาวะออทิสติก 7. ในแบบคัดกรองสำหรับเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 18 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) เด็กที่ผู้ปกครองตอบว่าเล่นของซ้ำๆ เป็นประจำ เด็กที่ดึงมือพ่อแม่ไปที่สิ่งของโดยไม่บอกความต้องการเป็นประจำหรือบางครั้ง เด็กที่ร้องไห้ หันหน้าหนี ไม่ยอมให้คนคุ้นเคยอุ้มเป็นประจำหรือเป็นบางครั้ง เด็กที่มีปัญหาด้านการนอนเป็นประจำหรือเป็นบางครั้ง เด็กที่เดินเขย่งปลายเท้าเป็นบางครั้ง และเด็กที่กรีดร้องเมื่อถูกขัดใจเป็นประจำหรือบางครั้งทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ารับการประเมินนั้นมีอาการของภาวะออทิสติก 8. ในแบบคัดกรองสำหรับเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติกอายุ 24 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง) เด็กที่ผู้ปกครองเห็นว่ายิ้ม มองหน้า รู้จักชื่อตนเอง ทำตามคำสั่งง่าย ๆ พูดประโยคง่าย ๆ ก็มีอาการของภาวะออทิสติกเช่นกัน แต่ผู้ปกครองหลายคนไม่ได้สังเกตเรื่องการมองหน้า การเล่น พฤติกรรมของเด็กขณะถูกอุ้ม และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของเด็ก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาแบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการออทิสติก อายุ 4-24 เดือน (สำหรับผู้ปกครอง)