การศึกษาคอลลาเจนจากปลิงทะเลขาว (Holothuria scabra) และ ปลิงดำ (Holothuria atra) (Study of collagen from sandfish (Holothuria scabra) and black sea cucumber (Holothuria leucospilota))

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

วิจิตรา ตุ้งซี่, ศรันย์ รักษาพราหมณ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

593.96 ศ17ก

รายละเอียด: 

การศึกษาการสกัดคอลลาเจนจากผนังลำตัวปลิงทะเลขาว (Holothuria scabra) และปลิงทะเลดำ (Holothuria leucospilota) และตรวจสอบความบริสุทธิ์ของคอลลาเจนที่สกัดได้ด้วยวิธีแบรดฟอร์ด (Bradford’s method)และSDS-PAGEพบว่าผนังลำตัวของปลิงทะเลขาวและปลิงทะเลดำ 100 กรัม ของน้ำหนักเปียก สามารถสกัดคอลลาเจนหยาบได้ 4.09 และ 10.95 กรัม ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ และสามารถสกัด pepsin-solubilized collagen (PSC) จากคอลลาเจนหยาบได้ประสบผลสำเร็จ ปริมาณค่อนข้างสูง คือ 58.70 และ 66.46% ตามลำดับ ซึ่ง PSC มีลักษณะเบา เป็นเส้นใย มีสีขาวในปลิงทะเลขาว แต่ในปลิงทะเลดำมีลักษณะสีน้ำตาลเข้ม เมื่อนำคอลลาเจนที่สกัดได้ไปวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนด้วยวิธี Biuret method และตรวจสอบความบริสุทธิ์ของคอลลาเจนด้วยวิธี SDS-PAGE พบว่าคอลลาเจนที่สกัดได้ทั้ง 2 ชนิด เป็นโปรตีน ซึ่งเป็นคอลลาเจน type I ประกอบด้วยสายเปปไทด์ α1 มีมวลโมเลกุลประมาณ 150 kDa ดังนั้นปลิงทะเลขาว และปลิงทะเลดำ จึงเป็นแหล่งคอลลาเจนอีกแหล่งหนึ่งสำหรับการประยุกต์ใช้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาคอลลาเจนจากปลิงทะเลขาว (Holothuria scabra) และ ปลิงดำ (Holothuria atra)