การเชื่อมเสียดทานของอะคริลิคโดยใช้เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติ (Friction Welding of Acrylic by Computerized Numerical Control Machine)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ชัยยุทธ มีงาม, ศุภชัย ชัยณรงศ์, กุลยุทธ บุญเซ่ง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อการเชื่อมเสียดทานของอะคริลิคด้วยเครื่องจักรกลอัตโนมัติ โดยตัวแปรที่เชื่อม คือ ความเร็วรอบ 600, 1000, 1400 และ 1800 รอบต่อนาที ระยะกดอัดที่ 2.2 และ 3.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ หลังจากการเชื่อมเสียดทานพบว่า ความเร็วรอบ 1400 รอบต่อนาทีระยะกดอัด 3.2 มิลลิเมตร ให้ค่าความแข็งของชิ้นงานสูงสุด เฉลี่ยอยู่ที่ 88.66 HRMแต่เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อเดิมของอะคริลิคพบว่ายังมีค่าน้อยกว่าเดิม ที่มีความแข็งอยู่ที่ 98 HRMอย่างไรก็ตาม ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 18.11 MPa ที่ความเร็วรอบ 600 รอบต่อนาที ระยะกดอัด 3.2 มิลลิเมตร ในทางตรงกันข้าม ความเร็วรอบที่สูงขึ้นถึง 1800 รอบต่อนาที ระยะกดอัด 2.2 มิลลิเมตร กลับให้ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15.29 MPa จะเห็นได้ว่าอิทธิพลของตัวแปรสำหรับการทดลองส่งผลต่อสมบัติทางกลของชิ้นงานหลังจากการเชื่อม เนื่องมาจากอิทธิพลของตัวแปรเหล่านั้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางโลหะวิทยา ซึ่งส่งผลให้สมบัติทางกลของชิ้นงานมีค่าที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การเชื่อมเสียดทานของอะคริลิคโดยใช้เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติ