ความผันแปรในลักษณะปรากฏและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของข้าวเหนียวดำมีสีพันธุ์พื้นบ้านสายพันธุ์ดีเด่นภาคใต้ : ข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่และข้าวเหนียวดำหมอ ( Phenotypic variation and in vitro Oryza sativa var. glutinosa.

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

จักรกริช อนันตศรัณย์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

ว.633.1836 จ111ค

รายละเอียด: 

ความผันแปรในลักษณะปรากฏของข้าวพื้นเมืองตามธรรมชาติเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าว การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงเป็นเทคนิคหนึ่งในการเก็บรักษาสายพันธุ์เพื่อป้องกันการกลายพันธุ์ หรือเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ การวิจัยนี้จึงศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและตรวจสอบความผันแปรของลักษณะปรากฏที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและในหลอดทดลองของข้าวเหนียวดำมีสีพันธุ์พื้นบ้านสายพันธุ์ดีเด่นภาคใต้ 2 ชนิด คือ ข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่และข้าวเหนียวดำหมอ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าว เริ่มจากนำเมล็ดสองพันธุ์ข้าวทำให้ปลอดเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 95 % และโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ความเข้มข้น 1 % และ 0.5 % อย่างละ 10 นาที ตามลำดับ และปอกเปลือกข้าวออก แล้วเลี้ยงในอาหารสูตร LS (Linsmaier and Skoog , 1965) ที่เติม 2,4-D 1-2 มิลลิกรัมต่อลิตร ระยะเวลา 4 สัปดาห์ จะได้แคลลัสแล้วย้ายลงอาหารสูตร LS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ระยะเวลา 4 สัปดาห์ แคลลัสจะพัฒนาอวัยวะใหม่ คือ ราก (70%) และยอด (<25%)การชักนำให้เกิดอวัยวะใหม่และเอ็มบริโอใหม่จากแคลลัสโดยย้ายเลี้ยงแคลลัสลงในอาหารสูตร MS ( Murashige & Skoog, 1962) mujg9b, kinetin 2 มิลลิกรัมต่อลิตรร่วมกับ NAA 0.5 มิลลิกรัม แคลลัสมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นและอัตราการเกิดอวัยวะใหม่มากขึ้น แต่มีการเอ็มบริโอใหม่จากแคลลัสพบได้น้อยและถึงแม้มีการปรับสภาพแวดล้อม เช่น การลดความชื้นเนื้อเยื่อแคลลัสไม่ส่งผลกระตุ้นการเกิดอวัยวะใหม่หรือเอ็มบริโอได้ดี ส่วนการชักอวัยวะใหม่โดยตรงจากต้นจากต้นอ่อนจากเมล็ดข้าวจะเกิดยอดใหม่จำนวนมากได้ดีในอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 0.1-0.2 มิลิกระมต่อลิตร ชิ้นส่วนพืชเกิดยอดจำนวนมาก รากสั้น หลังจากนั้นตัดแบ่งยอดลงในอาหารสูตร MS ร่วมกับ NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนำให้เป็นต้นข้าวที่สมบูรณ์ อนุบาลย้ายเลี้ยงลงในบ่อทดลอง ณ สถานี พืชไร่ จนต้นข้าวออกรวงต้นข้าวทั้งสองพันธุ์ที่ได้ทั้งหมดไม่มีความผันแปรในลักษณะปรากฏ เมื่อเทียบกับต้นข้าวที่ปลูกในแปลงนาสาธิต ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ข้าวทั้งสองสายพันธุ์พบต้นที่มีความผันแปรปรากฏ ข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่มีความผันแปรในลักษณะปรากฏ 1กอข้าว คือ ต้นข้าวออกรวงเร็วกว่าปกติ น้ำหนักของเมล็ดข้าวและรวงเล็กลงส่วนข้าวเหนียวดำหมอมีความผันแปรในลักษณะปรากฏ 3 กอข้าว ซึ่งความผันแปรที่ปรากฏ คือ ขนาดของเมล็ดข้าว สีสัณฐานของเลือกข้าวและสีของเนื้อข้าวเปลี่ยน โดยอัตราส่วนต้นที่มีความผันแปรในลักษณะปรากฏทั้งสองพันธุ์ มีน้อยกว่า 1 % แสดงให้เห็นว่า ความผันแปรในลักษณะปรากฏของข้าวทั้งสองมีค่าต่ำในธรรมชาติ เมื่อทำเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าวจึงสามารถรักษาพันธุกรรมได้ดีทั้งพันธุ์แท้และพันธุ์ที่กลายจากธรรมชาติ และยังเป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้ต่อไป คำสำคัญ : ข้าวเหนียวดำหมอ, ข้าวเหนียวดำข่อไม้ไผ่ , การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าว, ความผันแปรในลักษณะปรากฏของข้าว

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ความผันแปรในลักษณะปรากฏและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของข้าวเหนียวดำมีสีพันธุ์พื้นบ้านสายพันธุ์ดีเด่นภาคใต้ : ข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่และข้าวเหนียวดำหมอ