การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้น้ำหมักชีวภาพจากฝักคูนในการกำจัดหอยเชอรี่ (Feasibility Stydy of Bio-fermented Golden Shower Pods to Eliminate Golden Apple Snails)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

สิรภา เอื้อบำรุงเกียรติ

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

632.6 ส37ก

รายละเอียด: 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้น้ำหมักชีวภาพจากฝักคูนในการกำจัดหอยเชอรี่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้น้ำหมักชีวภาพจากฝักคูนในการกำจัดหอยเชอรี่ และศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพจากฝักคูนในการกำจัดหอยเชอรี่ จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้น้ำหมักชีวภาพจากฝักคูนในการกำจัดหอยเชอรี่ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพจากฝักคูน 1000 มิลลิลิตร สามารถกำจัดหอยเชอรี่ได้ร้อยละ 100 โดยหอยเชอรี่ตามตั้งแต่ชั่วโมงแรก สำหรับการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพจากฝักคูนต่อน้ำกลั่น จำนวน 5 ชุด การทดลอง ได้แก่ ชุดการทดลอง A (10:1,000) ชุดทดลอง B (20 : 1,000) ชุดการทดลอง C (30 : 1,000) ชุดการทดลอง D (40 : 1,000) ชุดการทดลอง E (50 : 1,000) จากการศึกษาพบว่า ชุดการทดลอง D และชุดการทดลอง E มีอัตราการตายของหอยเชอรี่ที่เท่ากับร้อยละ 100 ภายในระยะเวลา 96 ชั่วโมง โดยชุดการทดลอง E หอยเชอรี่เริ่มตายตั้งแต่ชั่วโมงที่ 3 ในขณะที่ชุดการทดลอง D หอยเชอรี่เริ่มตายในชั่วโมงที่ 5 สำหรับการศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลักของน้ำหมักชีวภาพจากฝักคูน พบว่ามีปริมาณธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เท่ากับร้อยละ 0.18, 0.07 และ 0.55 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของธาตุอาหารหลักที่พบในน้ำหมักชีวภาพของกรมวิชาการเกษตร(2547)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้น้ำหมักชีวภาพจากฝักคูนในการกำจัดหอยเชอรี่