การอนุรักษ์ภูมิปัญญาในการเพาะเลี้ยงนกเขาชวาเสียงในอำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลา (Folk Wisdom Conservation For Raising Zebra Doves in Chana District Songkhla)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

วาสนา ขวัญทองยิ้ม, พีรวัส หนูเกตุ, อรณิช สาครินทร์, ณัชยา ตันกุ้ย

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว.636.686 ก27

รายละเอียด: 

การศึกษาเรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาในการเพาะเลี้ยงนกเขาชวาเสียงในอำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนในการเลี้ยงนกเขาชวาเสียง และเพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการเลี้ยงนกเขาชวาเสียงในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสมเชิงคุณภาพและปริมาณเพื่อค้นหาข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านด้านการเพาะเลี้ยงนกเขาชวาเสียงโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้เลี้ยงนกเขาชวาเสียงในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยการแจกแบบสอบถาม ประกอบด้วย บริบททั่วไปของชุมชนในการเพาะเลี้ยงนกเขาชวาเสียง รวมถึงการจัดการความรู้ของผู้เลี้ยงนกเขาชวาเสียง ซึ่งประกอบด้วย การบ่งชี้ความรู้ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ รวมถึงการจัดความรู้ให้เป็นระบบ จากการศึกษาข้อมูล พบว่า การจัดการความรู้ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเพาะเลี้ยงนกเขาชวาเสียงในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยรวมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80) ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ในระดับอยู่ในอันดับแรก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.12) รองลงมาด้านการกำหนดความรู้ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.06) ด้านการแสวงหาความรู้ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.55) และด้านการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.49) ตามลำดับ ผลจากการสัมภาษณ์ พบว่า การเลี้ยงนกเขาชวาเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันรุ่นต่อรุ่น องค์ความรู้ในการเลี้ยงนกเขาชวาเสียงส่วนมากมาจากการสังเกต การทดลอง การสอบถามจากคนในพื้นที่ เพื่อนำความรู้และวิธีการเลี้ยงมาพัฒนาสายพันธุ์ ในการเลี้ยงนกเขาชวาเสียงส่วนใหญ่จะเลี้ยงเพราะชอบในเสียงร้องของนก อีกทั้งยังเป็นนกที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงและชุมชน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาในการเพาะเลี้ยงนกเขาชวาเสียงในอำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลา