การยอมรับและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง ในตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (Adoption and Factors Affecting The Adoption of Promoting the Cultivation of Black Glutionous Rice in Chalae Sub-dist

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ปริยากร บุญส่ง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.633.18 ป17ก

รายละเอียด: 

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพื้นเมือง 2) ศึกษาการยอมรับการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวดำพันธ์พื้นเมืองของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่มีผลการยอมรับการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปลูกข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกร ในตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 150 ราย ซึ่งได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ใช้เครื่องมือหรือค่าสถิติอย่างง่าย เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุดต่ำสุด ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติก ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีเพศชายเป็นส่วนใหญ่ อายุเฉลี่ย 59.31 ปี ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 2 คนต่อครัวเรือน มีพื้นที่ถือครองรวมเฉลี่ย 6.33 ไร่ต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่มีหนี้สิน มีระดับการยอมรับอยู่ในระดับของการไตร่ตรองมากที่สุด ทั้งนี้เพราะเกษตรกรแต่ละคนย่อมมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการยอมรับการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองที่แตกต่างกัน ระดับการยอมรับของเกษตรกรจึงแตกต่างกันจำนวนสมาชิกในครัวเรือน และการมีอาชีพเสริมของเกษตรกร เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เกษตรกรที่ประสบปัญหาและอุปสรรคในการผลิตหรือปลูกข้าว มีปัญหาการขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก ขาดแคลนเงินทุน ปัญหาศัตรูพืช โรค และแมลง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.67

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การยอมรับและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง ในตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา