การพัฒนาแผ่นอัดสมุนไพรต้านทานปลวก (Particle Board from Herbs for Termite Resistance)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

กรกนก เพ็งเพชร, ทิพวรรณ สุขแก้ว, ปาริฉัตร ชูพูล

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

628.965 ก17ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการพัฒนาแผ่นอัดสมุนไพรต้านทานปลวกที่ผลิตจากขี้เลื่อยไม้ยาง และพืชสมุนไพร 2 ชนิด ได้แก่ใบสาบเสือ และหญ้าแห้วหมู มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสมุนไพรในการทำแผ่นอัดต้านทานปลวก ศึกษาสมบัติทางกายภาพ และความสามารถในการต้านทานปลวกของแผ่นอัด โดยการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมที่ใช้ในการทำแผ่นอัดทั้งหมด 3 สูตร ได้แก่ ขี้เลื่อย : ใบสาบเสือ ขี้เลื่อย : หญ้าแห้วหมู และขี้เลื่อย : หญ้าแห้วหมูผสมใบสาบเสือ สูตรละ5 อัตราส่วน โดยใช้อัตราส่วนของขี้เลื่อย : พืชสมุนไพร 100 : 0 75 : 25 25 : 75 และ 0 : 100 อัดขึ้นรูปด้วยเครื่องไฮโดรลิคที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส โดยการทำอัดร้อนเป็นเวลา 15 นาที นำไปอบหลังการอัดขึ้นรูปที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นศึกษาสมบัติทางกายภาพ คือ การดูดซึมน้ำ และการพองตัวเมื่อแช่น้ำ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.876-2547) พบว่า การดูดซึมน้ำ และการพองตัวเมื่อแช่น้ำของแผ่นอัดสมุนไพร สูตรที่ 2 ขี้เลื่อย : หญ้าแห้วหมูมีแนวโน้มลดลง เมื่ออัตราส่วนของหญ้าแห้วหมูเพิ่มมากขึ้น แผ่นอัดสมุนไพรที่มีความสามารถต้านทานปลวกได้ดีที่สุด คือสูตรที่ 3 ขี้เลื่อย : หญ้าแห้วหมูและใบสาบเสือ ในอัตราส่วน 0 : 100 แต่สมบัติทางกายภาพ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คือ การดูดซึมน้ำ และการพองตัวเมื่อแช่น้ำ แต่เมื่อพิจารณาจากน้ำหนักที่หายไป และสมบัติทางกายภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คือ การดูดซึมน้ำ และการพองตัวเมื่อแช่น้ำ สูตรที่ดีดที่สุด คือ สูตรที่ 2 ขี้เลื่อย : หญ้าแห้วหมู ในอัตราส่วน 0 : 100 และ 25 : 75 ตามลำดับนั้นมีการศึกษาใบสาบเสือในการนำมาเป็นส่วนผสมกับแผ่นอัดด้วยเช่นกัน และผลจากผลการศึกษาใบสาบเสือ พบว่าสามารถลดการกัดแทะของปลวกได้เหมือนกัน และสามารถทำให้จำนวนปลวกลดลง แต่เมื่อพิจารณาสมบัติทางกายภาพ คือ การดูดซึมน้ำ และการพองตัวเมื่อแช่น้ำ จะไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาแผ่นอัดสมุนไพรต้านทานปลวก