การหาสภาวะที่เหมาะสมของการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส และไซลาเนส ที่มีต่อผลการเลี้ยงเชื้อราฆ่าแมลงในวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร(Optimization for cellulase and xylanase enzyme production affecting to entomopathogenic fungi production with agricultura waste)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

วนิดา เพ็ชร์ลมุล,ไสว บัวแก้ว,นราวดี บัวขวัญ,ธวัชชัย ศรีพรงาม,กันตภณ มะหาหมัด

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

ว.579.5 ก27

รายละเอียด: 

วัสดุเศษเหลือจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เป็นส่วนเหลือจากกระบวนการสกัดน้ำมันที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เนื่องจากยังมีองค์ประกอบของแหล่งคาร์บอนและในโตรเจน ที่จุลินทรีย์สามารถใช้เป็นสารอาหารในการเจริญเติบโตรวมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้ งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการเจริญ และสภาวะที่เหมาะสมของการผลิตเอนไขม์เซลลูเลส และไขลาเนส ที่ใช้ในการย่อยสลายวัสดุเศษเหลือเพื่อการเจริญของเชื้อราฆ่าแมลง ซึ่งนอกจากเป็นการส่งเสริมการนําวัสดุเศษเหลือมาใช้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นทางเลือกในการลดต้นทุนการเพิ่มขยายเชื้อราฆ่าแมลงสําหรับใช้ทําเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยหลังจากน้ำเชื้อราฆ่าแมลงจํานวน 10 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Metathin anisonline จํานวน 5 สายพันธุ์ (M8 M3 M5 M33 และ NCBRC) และ Bouveria b05Sora จํานวน 5 สายพันธุ์ (BPMC B14532 B14841 B16041 และ BNBCR)มาทดสอบการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส และ ไขลาเนส จากนั้นคัดเลือกเสื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อศึกษาหาสภาวะของค่าความเป็นกรด-ด่าง และ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผลิตเอนไซม์ทั้งสองชนิด ด้วยวิธีทางสถิติแบบพื้นผิวตอบสนอง (Response surface methodology, RSM) Inulöis Central Composite design (CCD) uainnamos และการสร้างโคนิเดียของเชื้อราที่คัดเลือกได้โดยเลี้ยงด้วยวัสดุเศษเหลือจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จํานวน 6 ชนิด ได้แก่ DC: กากตะกอนดีแคนเตอร์ POME น้ำทิ้งหลังสกัดน้ำมันปาล์ม EFB. ทะลายปาล์มเปล่า OPT ลําต้นปาล์ม OPE ทางปาล์ม ODM กากปาล์ม ผลการทดลองพบว่ๆ เชื้อรา 8. bossiona B14532 ผลิตเอนไซม์เซลลูและไซลาเนสได้สูงที่สุด เท่ากับ 3.59 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และ 39.00 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ตามลําดับ ดังนั้น B.bossiona B14532 จึงถูกคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อ โดยสภาวะที่เหมาะสมที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้สูงสุดที่ 3.89 ยูนิตต่อมิลลิลิตร คือ ที่ค่าความเป็น กรด-ด่างเท่ากับ 6.5 และที่อุณหภูมิเท่ากับ 80 องศาเซลเซียส สําหรับสภาวะที่เหมาะสมที่สามารถผลิต เอนไซม์ไขลาเนสได้สูงสุดที่ 41.01 ยูนิตต่อมิลลิลิตร คือ ที่ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 6.5 และที่ อุณหภูมิเท่ากับ 55 องศาเซลเซียส และค่าสัมประสิทธิ์ (R) เท่ากับ 0.96 ผลการเจริญของเชื้อรา B. bassiano B14532 ที่เลี้ยงบนวัสดุเศษเหลือจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มทั้ง 6 ชนิด ที่อุณหภูมิ 30+-2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วัน พบว่า เชื้อรา B. bassian0814532สามารถเจริญได้สูงสุด (1.90-3.26 เซนติเมตรต่อวัน) และผลิตโดนิเดียได้สูงสุด (4.20* 10 โคนิเดียต่อมิลลิลิตร) เมื่อเลี้ยงด้วยกากตะกอน ดีแคนเตอร์ ขณะที่พบการเจริญได้ต่ำสุด (1.12-1.20 เขนติเมตรต่อวัน) และผลิตโดนิเดียได้น้อยที่สุด เท่ากับ 1.20 x 10 โคนเดียต่อมิลลิลิตร เมื่อเลี้ยงด้วยทางปาล์ม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การหาสภาวะที่เหมาะสมของการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส และไซลาเนส ที่มีต่อผลการเลี้ยงเชื้อราฆ่าแมลงในวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร