การพัฒนาถังผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์(The development of bio-gas generating tank from organic waste)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ผจงสุข สุธารัตน์,เสาวนิตย์ ชอบบุญ,นิศากร วิทจิตสมบูรณ์,อนุมัติ เดชนะ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

ว.665.776 ก27

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์นั้นคือ เศษอาหารและมูลโด ผสมมูลสุกร โดยใช้ถังหมักแบบขั้นตอนเดียว ซึ่งเริ่มจากการประกอบถึงจํานวน 2 ชุด ขนาดขนาด 1,000 ลิตร และใช้เศษอาหารและมูลสัตว์เป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพโดยดําเนินระบบแบทซ์ และถึง ต่อเนื่อง ที่ช่วงอุณหภูมิเมโซฟิลิก (25c-30° C) ผลการทดสอบแบบแบทซ์ของเศษอาหารและมูลสัตว์ พบว่าเมื่อใช้อัตราการป้อนสารอินทรีย์ เท่ากับ 0.74 และ 0.66 กรัม VS ต่อลิตร-วัน ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพ เฉลี่ยวันละ 145.04 และ 137.12 ลิตร และให้ค่าปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดที่ผลิตได้ต่อสารอินทรีย์ที่เดิม เข้าระบบ 0.267 และ 0.275 ลิตรต่อกรัม VS ที่เติมเข้าระบบ ตามลําดับ ขณะที่ผลการทดสอบแบบกึ่ง ต่อเนื่องของเศษอาหารและมูลสัตว์เมื่อใช้อัตราการป้อนสารอินทรีย์ เท่ากับ 0.82 และ 0.7 กรัม vs ต่อลิตร วัน ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพเฉลี่ยวันละ 397.85 และ 332.85 ลิตร และให้ค่าปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดที่ ผลิตได้ต่อสารอินทรีย์ที่เติมเข้าระบบ 0.647 และ 0.630 ลิตรต่อกรัม vs ที่เดิมเข้าระบบ ตามลําดับ จึง สามารถสรุปได้ว่าถังหมักแบบขั้นตอนเดียวเมื่อดําเนินระบบแบบกึ่งต่อเนื่องสามารถเพิ่มปริมาณก๊าซ ชีวภาพที่ผลิตได้จากวัตถุดิบเศษอาหารและมูลสัตว์ ซึ่งเพียงพอต่อการนําไปใช้ในการปรุงอาหารภายใน ครัวเรือนในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาถังผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์