ผลของสารสกัดหยาบใบหูกวางต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของกุงก้ามกรามในระบบน้ำหมุนเวียน

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

วิณากร ที่รัก, ทนงศักดิ์ ธนูทอง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.639.6 ว34ผ

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้สารสกัดหยาบจากใบหูกวางระดับต่างกันในอาหารต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดของกุ้งก้ามกรามในระบบน้ำหมุนเวียน ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design : CRD) มี 4 ชุดการทดลอง แต่ละชุดการทดลองมี 3 ซ้ำ หน่วยทดลอง คือ กุ้งก้ามกรามที่ผ่านการอนุบาล จำนวน 420 ตัว นำมาเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียน ในถัง 500 ลิตร จำนวนถังละ 20 ตัว โดยสุ่มเลี้ยงแบบคละเพศ ใช้ระยะเวลาเลี้ยง 12 สัปดาห์ โดยให้อาหารไม่ผสมสารสกัดหยาบใบหูกวาง (ชุดควบคุม) และผสมสารสกัดหยาบใบหูกวางระดับ 0.5, 1 และ 2 เปอร์เซ็นต์ของอาหาร พบว่า อัตราน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการรอดตาย และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ส่วนน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กินทั้งหมดและประสิทธิภาพการใช้โปรตีน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)โดยกุ้งก้ามกรามที่ได้รับสารอาหารผสมสารสกัดหยาบใบหูกวางระดับ 1 เปอร์เซ็นต์ของของสูตรอาหารมีค่าดังกล่าวดีกว่าชุดการทดลองที่ไม่ผสม (ชุดควบคุม) ชุดการทดลองที่ผสมระดับ 0.5 และ 2 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร สรุปได้ว่าควรใช้สารสกัดหยาบระดับ 1 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารมีความเหมาะสมในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบน้ำหมุนเวียนมากที่สุด

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ผลของสารสกัดหยาบใบหูกวางต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของกุงก้ามกรามในระบบน้ำหมุนเวียน