ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
นูร์อัลญา เสาะเมาะ, มารีแย สือรี |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2559 |
|
เลขหมู่: |
628.16 น417ป |
|
รายละเอียด: |
โลหะแคดเมียมเป็นสารพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน จากปัญหาดังกล่าว ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกําจัดแคดเมียม (Cd) ในน้ําเสียสังเคราะห์ โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเปลือกหอยนางรมที่ผ่านการเผาที่ 950 องศาเซลเซียส นาน 5 ชั่วโมง และเปลือกหอยนางรมที่ไม่ผ่านการเผา แล้วนํามาบดละเอียดร่อนผ่านตะแกรงขนาด 106 ไมโครเมตร ทําการศึกษาที่ระดับ pH แตกต่างกัน 4 ช่วง (7, 8, 9 และ 10) และปริมาณการใช้ร้อยละ 0.05, 0.10, 0.20, 0.30 และ 0.50 RATARHA ผลการศึกษาพบว่าเปลือกหอยนางรมที่ทําการเผามีประสิทธิภาพในการลดแคดเมียม ในน้ําเสียสังเคราะห์ดีกว่าเปลือกหอยนางรมที่ไม่ทําการเผาโดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.05) ซึ่งประสิทธิภาพในการกําจัด Cd ของหอยนางรมแบบเผาและไม่ เผาสูงสุดที่ pH 10.00 มีค่าเท่ากับ 98.99 และ 98.94 ตามลําดับ สําหรับเปลือกหอยนางรมแบบไม่ เผาที่ปริมาณการใช้ร้อยละ 0.50 และเปลือกหอยนางรมแบบเผาร้อยละ 0.05 มีประสิทธิภาพสูงใน การกําจัด Cd ร้อยละ 98.68 และ 99.42 ตามลําดับ ซึ่งการเพิ่มปริมาณเปลือกหอยนางรม (แผาและ ไม่เผา) มีผลต่อประสิทธิภาพการกําจัด Cd น้อย อาจเนื่องจากปริมาณที่ใช้มีมากเกินพอ |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ประสิทธิภาพของเปลือกหอยนางรมแบบเผาและไม่เผาในการกำจัดแคดเมียมจากน้ำเสียสังเคราะห์ |
|