ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
สุปราณี ชอบแต่ง |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2554 |
|
เลขหมู่: |
||
รายละเอียด: |
การศึกษามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการใช้พลังงานทดแทนของชุมชนท้องถิ่น ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการพลังงานทดแทนที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับเก็บรวบรวมข้อมูลโดย Focus group สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการองค์ความรู้พลังงานทดแทนโดยองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบลคลองรี ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการใช้พลังงานทดแทนของชุมชนท้องถิ่น มีดังนี้ 1) เตาชีวมวล มีความต้องการใช้เพราะว่าประหยัดต้นทุน, ช่วยลดเวลา, มีความคงทน แต่ปัจจุบันความต้องการใช้ลดลงเพราะชาวบ้านเปลี่ยนอาชีพ 2) แก๊สชีวภาพ มีความต้องการใช้ในครัวเรือนและขยายผลไปสู่โรงเรียน ปัจจุบันความต้องการใช้ลดลงเพราะว่าไม่สะดวกในการป้อนมูลสัตว์ 3) ตู้อบแสงอาทิตย์ มีความต้องการใช้เพราะว่า ช่วยลดเวลา 4) เตาเผาถ่าน มีความต้องการใช้น้อย เพราะว่า ไม่แข็งแรง, ไม่เหมาะกับพื้นที่ 5) กังหันลม เดิมมี 1 ชุด เพื่อใช้ปั่นชาร์ตแบตเตอรรี่เครื่องเสียงสำหรับออกกำลังกายแต่พายุพัดถล่มชำรุดเสียหายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 จากประสบการณ์การใช้งานพบว่า การใช้งานไม่คุ้มทุนกับราคา รูปแบบการจัดการพลังงานทดแทนที่มีอยู่นุชมชนท้องถิ่นตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งของการทำงานเพื่อพัฒนาและสร้างตำบลสุขภาวะ การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและความสำนึกร่วมขององค์กรภาคีพัฒนาในตำบลที่มีต่อพลังงานท้องถิ่น เพื่อรักษาไว้ซึ่งสมดุลของการดำรงชีวิต นับเป็นชุมชนต้นแบบด้านพลังงานทดแทน ที่มีผลดำเนินงานเป็นรูปธรรมท่านกลางสถานการณ์สังคมแห่งยุคการพึ่งพาเทคโนโลยี |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การจัดการองค์ความรู้พลังงานทดแทนโดยองค์กรชุมชนท้องถิ่น ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
|