การพัฒนาการผลิตปุ๋ยหมักจากฟางข้าวของกลุ่มเกษตรกรตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ( The Development of Compost from Rice Straw Production of Agriculural Group from Bangcherd Singhanakorn, Songklha)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เสาวนิตย์ ชอบบุญ, ผจงสุข สุธารัตน์, พัชรี หลุ่งหม่าน

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การพัฒนาการผลิตปุ๋ยหมักจากฟางข้าวของกลุ่มเกษตรกร ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตปุ๋ยจากฟางข้าวจากสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเซลลูโลสซึ่งคัดเลือกมาจากสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร ผลการศึกษาพบว่า มีจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเซลลูโลสบนอาหารcellulose congo red agar ทั้งหมด 14 ไอโซเลท จากทั้งหมด 169 ไอโซเลท โดยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเซลลูโลสสามอันดับแรกบนอาหาร cellulose congo red agar คัดแยกได้มาจากดินคือ S-12 Aspergillus sp. S-41 และ Actinomycetes S-15 มีอัตราส่วนของเส้นผ่านศูนย์ของวงใสต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของโคโลนีบนอาหาร cellulose congo red agar บ่มที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส นาน 72 ชั่วโมง เท่ากับ 4.55±0.12, 4.50 ±0.08 และ 4.01±0.02 ตามลำดับ หลังการเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ทั้งสามชนิดเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการย่อยฟางข้าวในห้องปฏิบัติการ พบว่าจุลินทรีย์ทั้งสามชนิด Aspergillus sp. S-41 เจริญและสร้างสปอร์ได้รวดเร็วที่สุด รองลงมาคือ ActinomycetesS-15 ส่วน ไอโซเลท S-12เจริญได้ช้ามาก จากการศึกษาประสิทธภาพการย่อยสลายฟางข้าว พบว่าจุลินทรีย์ทั้งสามไอโซเลทสามารถย่อยสลายฟางข้าวได้ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงคัดเลือกAspergillus sp. S-41 สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพการย่อยสลายฟางข้าวในภาคสนาม จากการศึกษาพบว่า Aspergillus sp. S-41 มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟางข้าวได้ดีกว่าสารเร่ง พด.1 โดยในทุกชุดการทดลองมีปริมาณความเป็นกรด-ด่าง ร้อยละของสารอินทรีย์วัตถุ และค่า C/N ratio อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศตามประกาศกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาการผลิตปุ๋ยหมักจากฟางข้าวของกลุ่มเกษตรกรตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา