ความหลากหลายและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนบริเวณหาดแก้วลากูน จังหวัดสงขลา (Diversity and Abundance of Plankton at Haad-kaew Lagoon, Songkhla Province)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุธินี หีมยิ, พงศธร จันทรัตน์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.577.76 น44ค

รายละเอียด: 

การศึกษาความหลากหลายและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนบริเวณหาดแก้วลากูน ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างด้วยถุงกรองแพลงก์ตอนที่มีขนาดช่องตา 22 และ 315 ไมครอน จำนวน 4 สถานี ในเดือนตุลาคม ธันวาคม พ.ศ. 2558 และ กุมภาพันธ์ เมษายน พ.ศ. 2559 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ และศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับประชาคมแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณหาดแก้วลากูน จังหวัดสงขลา พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 6 ดิวิชัน 100 สกุล 132 ชนิด มีความหนาแน่นอยู่ในช่วง 344 – 7,039 เซลล์/ลิตร แพลงก์ตอนพืชกลุ่มเด่นที่มีจำนวนชนิดและความหนาแน่นมากที่สุด คือ ไดอะตอม รองลงมาเป็นสาหร่ายสีเขียว ไดโนเฟลกเจลเลต ตามลำดับ โดยสถานีที่ 1 ซึ่งเป็นปากลากูนที่เปิดออกสู่ทะเลอ่าวไทยพบแพลงก์ตอนพืชหลากหลายชนิดและมีแนวโน้มลดลงตามระยะทางที่ห่างจากปากลากูน ในขณะที่สถานี 2 และ 3 พบความหนาแน่นมากกว่าสถานีอื่น ๆ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืช คือ ความโปร่งแสง ปริมาณออร์โธฟอสเฟต และความเค็มของน้ำ ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์พบทั้งหมด 11 ไฟลัม 51 ชนิด มีความชุกชุมในแต่ละสถานีอยู่ในช่วง 86 – 1,036 ตัว/ลบ.ม. กลุ่มเด่นที่พบชุกชุมมาก คือ โคพีพอด ตัวอ่อน เพรียงหิน และโปรโตซัว กลุ่ม tintinids นอกจากนี้ยังพบว่าแพลงก์ตอนสัตว์มีความหลากหลายและ ความชุกชุมมากที่สุดในเดือนเมษายน และน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม โดยมีปริมาณไนเตรท ปริมาณของแข็งแขวนลอยทั้งหมด และความเค็มของน้ำเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับประชาคมแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณนี้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ความหลากหลายและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนบริเวณหาดแก้วลากูน จังหวัดสงขลา