การบริหารจัดการปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรในเขตจังหวัดพัทลุง (Integration of Oil Palm Management in Phatthalung Province)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

สุระพรรณ์ จุลสุวรรณ์, วันฉัตร จารุวรรณโน, ธราพงษ์ มีมุสิทธิ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

วัตถุประสงค์ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปาล์มน้ำมันของโลกและประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปาล์มน้ำมันของจังหวัดพัทลุง (3) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของจังหวัดพัทลุง (4) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรในจังหวัดพัทลุง ประชากรในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้รับซื้อปาล์ม และครัวเรือนเกษตรกร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสอบถาม โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เวทีการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ศักยภาพ โดยใช้ SWOT และ TOWS เพื่อกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา และแนวทางการพัฒนา (กลยุทธ์) ปาล์มน้ำมันแบบครบวงจร ที่จะทำให้การพัฒนาปาล์มน้ำมันของจังหวัดพัทลุงแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิต แปรรูป และการตลาด ผลการวิจัย (1) สถานการณ์ปาล์มน้ำมันของโลก พบว่า อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มหลักของโลก สถานการณ์ปาล์มน้ำมันของไทย พบว่า มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 4.69ล้านไร่ ผลผลิตรวม 11,015,872ตัน ความต้องการใช้ปาล์มน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้น ราคาลดลง (2)สถานการณ์ปาล์มน้ำมันของจังหวัดพัทลุง พบว่า มีพื้นที่ปลูกปาล์มจำนวน 41,901ไร่ มีครัวเรือนปลูกปาล์ม 5,005ครัวเรือน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีลานเททั้งหมด 28ลาน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 2,718.4กิโลกรัมต่อไร่ รายรับเฉลี่ย 16,301.9บาทต่อไร่ต่อปี ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 1,477.3บาทต่อไร่ต่อปี ต้นทุนแปรผันเฉลี่ย 4,558.1บาทต่อไร่ต่อปี กำไรเฉลี่ย 8,177.0บาทต่อไร่ต่อปี โดยมีต้นทุน 3.4บาทต่อกิโลกรัม รายรับเฉลี่ย 6.1บาทต่อกิโลกรัม และโดยกำไรเฉลี่ย 2.7บาทต่อกิโลกรัม (3) ศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของจังหวัดพัทลุง พบว่า มีจุดแข็งด้านการผลิต มีจุดอ่อนด้านการตลาด มีโอกาสในด้านนโยบายรัฐ มีอุปสรรคในด้านราคาและภัยธรรมชาติ และ (4) รูปแบบการบริหารจัดการปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรในจังหวัดพัทลุง มี 4รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบด้านการผลิต ด้านการแปรรูป ด้านการตลาด และด้านการจัดการความรู้ รวม 18แนวทางการพัฒนา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การบริหารจัดการปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรในเขตจังหวัดพัทลุง